- การรักษามะเร็งเฉพาะบุคคล (Precision Medicine)
- การฉายรังสี (Radiation Therapy)
- ยาเคมีบำบัด (Chemotherapy)
- ฮอร์โมนบำบัด (Hormone Therapy)
- ยามุ่งเป้า (Targeted Therapy)
- ภูมิคุ้มกันบำบัด (Immunotherapy)
- การปลูกถ่ายไขกระดูก (Bone Marrow Transplantation)
- การผ่าตัด (Surgical Oncology)
- การตรวจแมมโมแกรม
- การตรวจวินิจฉัยด้วย CT Scan, PET/CT, PET/MRI
- CAR T- Cell Therapy
การรักษามะเร็งเฉพาะบุคคล (Precision Medicine)
การรักษามะเร็งเฉพาะบุคคล (Precision medicine) เป็นเทคโนโลยีการรักษาสมัยใหม่ ซึ่งถูกออกแบบมาจากฐานความคิดที่ว่า แพทย์ไม่ควรใช้วิธีการรักษาเพียงหนึ่งวิธีในการรักษาโรคใดโรคหนึ่งให้กับผู้ป่วย จากการศึกษาวิจัยพบว่าการแพทย์แบบจำเพาะบุคคล (Personalized medicine) ให้การตอบสนองต่อการรักษาดีกว่าการรักษาแบบดั้งเดิม เพราะเป็นแผนการรักษาที่ออกแบบมาเพื่อให้เหมาะกับกลไกการเกิดโรค และสภาพแวดล้อมของผู้ป่วยมากที่สุด
กระบวนการรักษามะเร็งแบบดั้งเดิม ได้แก่ การให้ยาเคมีบำบัด การผ่าตัด การฉายแสง การให้ยามุ่งเป้า (Targeted therapy) การรักษาด้วยภูมิคุ้มกันบำบัด (Immunotherapy) และการรักษาด้วยฮอร์โมนบำบัด (Hormonal therapy) จะพิจารณาเลือกวิธีรักษาจากการวินิจฉัยอาการของผู้ป่วย และจากข้อมูลการรักษาที่มีสำหรับผู้ป่วยแต่ละโรค โดยไม่ได้คำนึงถึงความแตกต่างของโรคของแต่ละบุคคล
แต่สำหรับการรักษามะเร็งเฉพาะบุคคล จะเริ่มตั้งแต่การตรวจวิเคราะห์เซลล์มะเร็งแบบเจาะจงลงไปในระดับพันธุกรรมมะเร็งหรือ ยีนมะเร็ง ซึ่งแพทย์จะใช้วิธีการเจาะเลือดหรือตัดชิ้นเนื้อมะเร็งของผู้ป่วย แล้วนำไปตรวจวินิจฉัยาทางห้องปฏิบัติการ จากนั้นนำข้อมูลมาวิเคราะห์บนฐานข้อมูลกลาง ที่เรียกว่า Big Data ซึ่งจะสามารถบ่งชี้ถึงกลไกการเกิดโรคที่มีความแตกต่างกันของแต่ละบุคคล ทำให้แพทย์สามารถเลือกใช้ยารักษามะเร็งที่เหมาะสม ลดหรือหลีกเลี่ยงการใช้ยาที่ไม่จำเป็น ทำให้สามารถลดและหลีกเลี่ยงผลข้างเคียงที่มีโอกาสเกิดขึ้นตั้งแต่แรกได้
การตรวจแบบเจาะลึกข้อมูลระดับพันธุกรรมมะเร็งหรือยีนมะเร็ง ถือเป็นกระบวนการรักษาแบบใหม่เพื่อหาความเปลี่ยนแปลงหรือการกลายพันธุ์ของยีนที่เกี่ยวข้องกับการเกิดโรคมะเร็ง โดยยีนมะเร็งแต่ละยีนจะประกอบด้วยชิ้นส่วนของดีเอ็นเอที่สามารถถอดรหัสออกมาเป็นชุดคำสั่งเฉพาะที่แตกต่างกัน มีหน้าควบคุมการทำงานและการแบ่งตัวของเซลล์
เมื่อเซลล์เกิดการแบ่งตัว ก็จะมีการคัดลอกยีนที่อยู่ภายในเซลล์ แต่อาจในบางครั้งอาจเกิดการเปลี่ยนแปลงของยีนหรือที่เรียกว่าการกลายพันธุ์หรือการผ่าเหล่าได้ ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้เมื่อมีความผิดพลาดในระหว่างกระบวนการคัดลอกยีน โดยการกลายพันธ์ุของยีนอาจถูกถ่ายทอดมาจากพ่อแม่ เรียกว่าการกลายพันธุ์แต่กำเนิด หรือเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นภายหลังเมื่อเราเติบโตแล้วก็ได้ เรียกว่าการกลายพันธุ์ที่เกิดขึ้นภายหลัง ทั้งนี้ การกลายพันธ์ของยีนก็ไม่ได้เป็นอันตรายเสมอไป
การกลายพันธ์ุบางประเภทนั้นอาจทำให้เกิดมะเร็งได้ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงที่ผิดแปลกไปจากธรรมชาติอาจเปลี่ยนซลล์ปกติให้กลายสภาพเป็นเซลล์มะเร็ง หรือในบางกรณีตัวโรคอาจเกิดจากยีนที่มีหน้าที่ควบคุมไม่ให้เซลล์ปกติแบ่งตัวจนควบคุมจำนวนไม่ได้นั้นถูกรบกวน หรือเกิดจากยีนที่มีหน้าที่สั่งให้เซลล์เติบโตและแบ่งตัวถูกกระตุ้นอยู่ตลอดเวลา อย่างไรก็ตาม โรคมะเร็งมักไม่ได้เกิดขึ้นเพียงเพราะมีการกลายพันธุ์ของยีนเพียงตัวเดียว แต่มักเกิดขึ้นเมื่อมีการกลายพันธุ์ของยีน์จำนวนมาก โดยมีการกลายพันธุ์บางประเภทเท่านั้นที่แพทย์สามารถค้นพบและทดสอบได้
Precision medicine สามารถบ่งบอกได้ว่าใครมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็ง และช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคได้ โดยวิธีนี้สามารถตรวจพบมะเร็งบางชนิดได้ตั้งแต่ระยะต้น นอกจากนี้ Precision Medicine ยังเพิ่มความแม่นยำในการตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งบางประเภท ซึ่งจะช่วยให้แพทย์เลือกวิธีการรักษามะเร็งที่เหมาะสมที่สุดแก่ผู้ป่วย และที่สำคัญคือสามารถตรวจประเมินประสิทธิภาพของการรักษา ในระหว่างที่การรักษายังดำเนินอยู่ได้
เบอร์โทรติดต่อ
Hi! How can we help you?