- การรักษามะเร็งเฉพาะบุคคล (Precision Medicine)
- การฉายรังสี (Radiation Therapy)
- ยาเคมีบำบัด (Chemotherapy)
- ฮอร์โมนบำบัด (Hormone Therapy)
- ยามุ่งเป้า (Targeted Therapy)
- ภูมิคุ้มกันบำบัด (Immunotherapy)
- การปลูกถ่ายไขกระดูก (Bone Marrow Transplantation)
- การผ่าตัด (Surgical Oncology)
- การตรวจแมมโมแกรม
- การตรวจวินิจฉัยด้วย CT Scan, PET/CT, PET/MRI
- CAR T- Cell Therapy
ฮอร์โมนบำบัด (Hormone Therapy)
ฮอร์โมน คือโปรตีนหรือสารที่ถูกผลิตในร่างกายตามกลไกธรรมชาติ มีหน้าที่นำพาข้อมูลและคำสั่งจากเซลล์กลุ่มหนึ่งไปยังอีกกลุ่มหนึ่ง รวมถึงควบคุมการทำงานต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น พัฒนาการ การเจริญเติบโต และการสืบพันธุ์
โรคมะเร็งบางประเภท อาศัยฮอร์โมนในการเจริญเติบโต เช่น มะเร็งเต้านม และมะเร็งต่อมลูกหมาก ดังนั้น จึงมีการพัฒนารูปแบบการรักษามะเร็ง โดยการใช้ ฮอร์โมนบำบัด (Hormone therapy)ซึ่งจะทำให้เซลล์มะเร็งที่เจริญเติบโตด้วยฮอร์โมนหยุดการเจริญเติบโตลง หยุดยั้งการออกฤทธิ์ของฮอร์โมนธรรมชาติในร่างกาย ลดปริมาณของฮอร์โมนที่เข้าไปยังก้อนเนื้องอก และยังช่วยทำให้ก้อนเนื้องอกมีขนาดเล็กลง ลดความเสี่ยงในการกลับมาเป็นซ้ำ โดยการใช้ฮอร์โมนบำบัดมีทั้งรูปแบบของยารับประทานและยาฉีดเข้าร่างกาย
โรคมะเร็งที่รักษาได้ด้วยฮอร์โมนบำบัด ได้แก่ มะเร็งต่อมลูกหมาก และมะเร็งเต้านมที่เจริญเติบโตด้วยฮอร์โมน อย่างไรก็ตาม แพทย์มักใช้ฮอร์โมนบำบัด ร่วมกับวิธีรักษามะเร็งอื่น ๆ โดยจะพิจารณาจากปัจจัยต่าง ๆ เช่น มะเร็งได้แพร่กระจายไปยังส่วนอื่นของร่างกายแล้วหรือไม่ แพร่กระจายไปมากน้อยแค่ไหน เซลล์มะเร็งอาศัยฮอร์โมนในการเจริญเติบโตหรือไม่ และผู้ป่วยมีโรคร่วมอย่างอื่นด้วยหรือไม่
ฮอร์โมนบำบัดสำหรับมะเร็งเต้านม
เอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรน เป็นฮอร์โมนเพศหญิงที่อาจส่งผลต่อการเกิดโรคมะเร็งเต้านมบางชนิด โดยมีโปรตีนเป็นตัวรับเซลล์มะเร็งเต้านมที่เกิดจากฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรน ฮอร์โมนทั้งสองชนิดนี้ทำให้เซลล์มะเร็งเต้านมเจริญเติบโต ซึ่งผู้ป่วยที่มีผลชิ้นเนื้อว่ามีตัวรับฮอร์โมนเป็นบวก ควรได้รับการรักษาด้วยฮอร์โมนบำบัด เพื่อช่วยลดระดับฮอร์โมนในร่างกายและยับยั้งไม่ให้ฮอร์โมนไปกระตุ้นการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง
ฮอร์โมนบำบัดมักใช้เพื่อรักษามะเร็งเต้านมหลังการผ่าตัด โดยจะช่วยลดความเสี่ยงของการกลับมาเป็นซ้ำ โดยทั่วไปแล้วใช้ระยะเวลารักษาประมาณ 5 ปี แต่สำหรับผู้ป่วยที่เสี่ยงต่อการกลับมาเป็นซ้ำอาจต้องใช้เวลามากกว่า 5 ปี แต่ในบางกรณีอาจใช้ฮอร์โมนบำบัดก่อนการผ่าตัด เพื่อลดขนาดเนื้อก่อนผ่าตัด
ผลข้างเคียงที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยที่ได้รับฮอร์โมนบำบัดสำหรับรักษามะเร็งเต้านมนั้น ได้แก่ มีอาการร้อนวูบวาบ มีตกขาว และช่องคลอดแห้งหรือระคายเคือง ส่วนผู้หญิงที่ยังไม่ถึงวัยหมดประจำเดือนอาจมีการเปลี่ยนแปลงของรอบเดือนบ้าง มีอาการคลื่นไส้ อารมณ์แปรปรวน และอ่อนเพลีย
ฮอร์โมนบำบัดสำหรับมะเร็งต่อมลูกหมาก
ฮอร์โมนแอนโดรเจน เป็นฮอร์โมนเพศชายที่อาจส่งผลต่อการเกิดโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก ซึ่งฮอร์โมนแอนโดรเจนประกอบด้วย เทสโทสเตอโรคและไดโฮโดรเทสโทสเตอโรน หากมีการรักษาด้วยฮอร์โมนบำบัด จะช่วยไปยับยั้งและทำให้ระดับฮอร์โมนเหล่านี้ลดลง ไม่ไปกระตุ้นการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งต่อมลูกหมาก และส่งผลให้ก้อนเนื้อมีขนาดเล็กลง ทั้งนี้ โรคมะเร็งต่อมลูกหมายไม่สามารถรักษาหายได้ด้วยการใช้ฮอร์โมนบำบัดเพียงเดียว ในบางกรณีผู้ป่วยอาจจำเป็นต้องผ่าตัดเอาลูกอัณฑะออกก
ฮอร์โมนบำบัดนั้น สามารถใช้ได้หลายรูปแบบ เช่น ใช้ก่อนฉายแสงเพื่อลดขนาดก้อนมะเร็ง ใช้เมื่อมะเร็งเริ่มลุกลามหรือแพร่กระจายไปไกลจนไม่สามารถรักษาได้ด้วยการผ่าตัดหรือการฉายรังสี หรือเมื่อผู้ป่วยไม่สามารถเข้ารับการรักษาด้วยวิธีเหล่านี้ได้ด้วยข้อจำกัดบางประการ นอกจากนี้ ยังใช้ในกรณีที่ผู้ป่วยเข้ารับการผ่าตัดหรือฉายรังสีแล้ว แต่ยังมีเซลล์มะเร็งหลงเหลือโดยมีค่า PSA สูง มีเซลล์มะเร็งเจริญเติบโตนอกต่อมลูกหมาก หรือมีโอกาสกลับมาเป็นซ้ำ แพทย์อาจพิจารณาใช้ฮอร์โมนบำบัดมาช่วยเสริมให้การรักษามีประสิทธิภาพมากขึ้น
ผลข้างเคียงที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยที่ได้รับฮอร์โมนบำบัดสำหรับรักษามะเร็งต่อมลูกหมาก ได้แก่ มีอาการร้อนวูบวาบ อ่อนเพลีย คลื่นไส้ ปวดข้อและกล้ามเนื้อ หย่อนสมรรถภาพทางเพศ ท้องเสีย และกระดูกเปราะบาง
เบอร์โทรติดต่อ
Hi! How can we help you?