- การรักษามะเร็งเฉพาะบุคคล (Precision Medicine)
- การฉายรังสี (Radiation Therapy)
- ยาเคมีบำบัด (Chemotherapy)
- ฮอร์โมนบำบัด (Hormone Therapy)
- ยามุ่งเป้า (Targeted Therapy)
- ภูมิคุ้มกันบำบัด (Immunotherapy)
- การปลูกถ่ายไขกระดูก (Bone Marrow Transplantation)
- การผ่าตัด (Surgical Oncology)
- การตรวจแมมโมแกรม
- การตรวจวินิจฉัยด้วย CT Scan, PET/CT, PET/MRI
- CAR T- Cell Therapy
ยามุ่งเป้า (Targeted Therapy)
การรักษาด้วยยามุ่งเป้า (Targeted Therapy) จากประสบการณ์การใช้ยาเคมีบำบัดเป็นระยะเวลานาน ประกอบกับองค์ความรู้ชีววิทยาของเซลล์มะเร็ง จึงทำให้มีการพัฒนา “ยา” ที่สามารถทำลายเซลล์มะเร็ง โดยไม่ออกฤทธิ์กับเซลล์ปกติ หรือมีผลกับเซลล์ปกติน้อยที่สุด ซึ่งชื่อเรียกของ “ยามุ่งเป้า” นั้น สืบเนื่องมาจากการออกฤทธิ์ของยา ที่สามารถเลือกเจาะจงให้ออกฤทธิ์เฉพาะกับเซลล์มะเร็ง โดยจะมีตัวรับยาจำเพาะที่ปรากฏเฉพาะในเซลล์มะเร็ง หรือออกฤทธิ์ยับยั้งสารเคมีที่เซลล์มะเร็งผลิตออกมาเพื่อใช้ในการสื่อสารกัน ซึ่งจำเป็นสำหรับการเจริญเติบโตหรือแพร่กระจายนั่นเอง
ข้อดีของการใช้ยามุ่งเป้า คือเป็นยาที่มีประสิทธิภาพดีมาก ผลข้างเคียงน้อย ปลอดภัย ปัจจุบันมีข้อมูลทางการแพทย์ว่า การรักษาโรคมะเร็งจำนวนมากตอบสนองต่อการรักษาด้วยยามุ่งเป้าดี เช่น มะเร็งปอด มะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งเม็ดสีผิว มะเร็งไต และมะเร็งระบบเลือด เป็นต้น
ข้อเสียของการใช้ยามุ่งเป้าคือ ยังมีราคาค่อนข้างสูง เนื่องจากเป็นยาค่อนข้างใหม่ ใช้เทคโนโลยีในการศึกษาและการผลิตระดับสูง ยาจึงมีราคาแพงและยังไม่สามารถใช้รักษาโรคมะเร็งได้ทุกชนิดและไม่สามารถใช้ได้กับผู้ป่วยมะเร็งได้ทุกราย เนื่องจากแต่ละมะเร็งและคนไข้แต่ละรายมียีนที่ตอบสนองต่อยาต่างกัน
ในปัจจุบันการรักษาโรคมะเร็ง ด้วยยามุ่งเป้า targeted therapy ช่วยให้ผู้ป่วยโรคมะเร็งบางชนิดมีชีวิตยืนยาวขึ้นและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และอาจมีผลข้างเคียงกับผู้ป่วยแต่ละรายไม่เท่ากัน และไม่เหมือนกัน การรักษาด้วยการใช้ยามุ่งเป้า targeted therapy ต้องระมัดระวังและอยู่ในความดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด เพื่อให้แพทย์ได้ประเมินผลการรักษาและความปลอดภัยของการใช้ยา รวมถึงการตอบสนองต่อยาด้วย
เบอร์โทรติดต่อ
Hi! How can we help you?