ยาเคมีบำบัด (Chemotherapy)

ยาเคมีบำบัด (Chemotherapy)

การรักษาโรคมะเร็งหรือการให้ยาเพื่อยับยั้ง หรือทำลายการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง ร่วมกับการดูแลผู้ป่วยโดยทีมแพทย์ผู้ชำนาญการด้านเคมีบำบัด รังสีรักษา การผ่าตัดเฉพาะทางด้านมะเร็ง การดูแลผู้ป่วยแบบครบวงจร รวมถึงการดูแลความพร้อมทางด้านจิตใจของผู้ป่วย 

เคมีบำบัด

การใช้ยาเคมีบำบัด หรือ คีโม (Chemotherapy) หลังจากมีการใช้รังสีในการรักษาโรคมะเร็งมาระยะเวลาหนึ่ง จึงมีการศึกษาและพัฒนา “ยา” ที่สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตเซลล์มะเร็งในขั้นตอนการแบ่งเซลล์ และมีความสามารถในการฆ่าเซลล์มะเร็ง โดยเรียกสารเหล่านั้นว่า Cytotoxic และการใช้สารดังกล่าวเพื่อรักษาโรคมะเร็ง เรียกกว่า “เคมีบำบัด” แต่ข้อเสียหลัก ๆ ของยาเคมีบำบัดคือ การมีความจำเพาะต่ำ แม้จะออกฤทธิ์ทำลายเซลล์มะเร็งเป็นหลัก แต่ก็ทำลายเซลล์ดีด้วยเช่นกัน ทำให้เกิดผลข้างเคียงและเกิดความไม่สุขสบายแก่ผู้ป่วย เนื่องจาก ยากระจายไปตามกระแสเลือด จึงสามารถออกฤทธิ์ได้ทั่ว ซึ่งเหมาะกับการรักษาโรคมะเร็งระยะแพร่กระจาย ที่ไม่สามารถระบุตำแหน่งในการฉายรังสีได้ หรือไม่สามารถผ่าตัดออกได้หมด

ยาเคมีบำบัดสามารถเข้าสู่ร่างกายของผู้ป่วยได้โดย

  • เคมีบำบัดชนิดรับประทาน 
  • เคมีบำบัดชนิดฉีดเข้าเส้นเลือด 
  • เคมีบำบัดชนิดฉีดเข้าส่วนต่าง ๆ ในร่างกาย เช่น กล้ามเนื้อหรือใต้ผิวหนัง ไขสันหลัง และช่องท้อง 

ระยะเวลาในการรักษาด้วยเคมีบำบัด 

จุดประสงค์ของยาเคมีบำบัดคือ การกำจัดเซลล์มะเร็งโดยเซลล์มะเร็งจะถูกทำลายและหยุดเจริญเติบโต ช่วยไม่ให้เหลือเซลล์มะเร็งกลับเป็นซ้ำหรือยับยั้งไม่ให้เซลล์มะเร็งแพร่กระจาย หรือถูกขวางไม่ให้รับสารอาหารจากเส้นเลือดที่มาหล่อเลี้ยง การให้ยาเคมีบำบัดจะกำหนดเป็นรอบ ๆ ในระยะห่างที่สม่ำเสมอ โดยทั่วไปจะเป็นทุก 1, 2, 3 สัปดาห์ ใน 1 รอบ อาจมีการให้ยามากกว่า 1 ครั้งแล้วแต่สูตรของการรักษา โดยมากการรักษา จะเป็นระยะเวลาเฉลี่ย 4-6 เดือน ต่อ 1 สูตรการรักษา ซึ่งอาจหมายถึง การบริหารยา 4-8 รอบ (ขึ้นกับแผนการรักษาของแพทย์) 

การเตรียมตัวก่อนให้ยาและการปฏิบัติตัวขณะรับยาเคมีบำบัด

  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เช่น เนื้อสัตว์ ไข่ นม ผักและผลไม้ ควรรับประทานอาหารที่รสไม่จัด ย่อยง่าย และดื่มน้ำมาก ๆ ไม่น้อยกว่าวันละ 2 – 3 ลิตร 
  • พักผ่อนให้เพียงพอในแต่ละวัน ทำจิตใจให้สงบไม่เครียดและกังวล 
  • พบทันตแพทย์เพื่อตรวจและรักษาสุขภาพช่องปากก่อนเริ่มรับยาเคมีบำบัด · หากมีโรคประจำตัว เช่น หัวใจ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หรือโรคที่ต้องรับประทานยาเป็นประจำ ต้องแจ้งให้แพทย์ผู้รักษาทราบ 
  • ขณะรับบริการเคมีบำบัด หากรู้สึกปวด บวม แดง หรือสงสัยมียารั่วซึมออกนอกหลอดเลือด ต้องแจ้งพยาบาลทันที 
  • ควรแจ้งอาการข้างเคียงที่เกิดขึ้นกับท่านในระหว่างได้รับยาเคมีบำบัดให้แพทย์ทราบเพื่อจะได้รับการดูแลต่อไป 

ผลข้างเคียงจากการรับยาเคมีบำบัด 

ผู้ป่วยที่ได้รับยาเคมีบำบัดอาจมีอาการข้างเคียงหลังจากได้รับยาภายใน 24 ชั่วโมง ผู้ป่วยแต่ละคนก็จะมีผลข้างเคียงไม่เหมือนกัน โดยผลข้างเคียงอาจมีหลายอาการ เช่น เบื่ออาหาร ท้องเสีย อ่อนเพลีย ร่วมกับภาวะซีดหรือเม็ดเลือดขาวต่ำ ในบางรายอาจมีภาวะเยื่อบุช่องปากอักเสบ ผมร่วง เคมีบำบัดบางชนิดทำให้ผมร่วงหมดศีรษะ แต่ เมื่อจบการรักษาผมจะงอกขึ้นมาเป็นปกติ โดยผลข้างเคียงที่จะกล่าวต่อไปนี้มิใช่จะเกิดขึ้นกับผู้ป่วยทุกราย และมิใช่จะเกิดขึ้นกับยาเคมีบำบัดทุกตัว 

ที่ตั้งและการเดินทาง​ ที่ตั้งและการเดินทาง​

 

วิธีการเดินทาง

ค้นหาเราบนแผนที่
 

การติดต่อและนัดหมาย​

[email protected]
 

บริการฉุกเฉิน​

เบอร์โทรติดต่อ : 02-734-0000