- การรักษามะเร็งเฉพาะบุคคล (Precision Medicine)
- การฉายรังสี (Radiation Therapy)
- ยาเคมีบำบัด (Chemotherapy)
- ฮอร์โมนบำบัด (Hormone Therapy)
- ยามุ่งเป้า (Targeted Therapy)
- ภูมิคุ้มกันบำบัด (Immunotherapy)
- การปลูกถ่ายไขกระดูก (Bone Marrow Transplantation)
- การผ่าตัด (Surgical Oncology)
- การตรวจแมมโมแกรม
- การตรวจวินิจฉัยด้วย CT Scan, PET/CT, PET/MRI
- CAR T- Cell Therapy
การฉายรังสี (Radiation Therapy)
การฉายรังสี (Radiation Therapy) เป็นหนึ่งในวิธีการรักษาโรคมะเร็งแบบมาตรฐาน โดยใช้คลื่นเอกซเรย์ขนาดสูง หรือคลื่นกัมมันตรังสี ซึ่งรังสีจะทำลายเซลล์ที่เจริญเติบโตเร็ว ดังนั้นเซลล์มะเร็งที่เติบโตเร็วจึงถูกทำลายได้ง่าย ในขณะที่เซลล์อวัยวะปกติของร่างกายจะถูกทำลายน้อยกว่า ซึ่งเซลล์ปกติของมนุษย์มีความสามารถในการซ่อมแซมตนเองได้ดีกว่าเซลล์มะเร็ง จึงสามารถกลับสู่สภาวะปกติได้ดีหลังจากได้รับรังสี
การฉายรังสีนั้นมีรูปแบบการใช้งานหลัก ๆ 2 รูปแบบ คือ ฉายแสงไปยังจุดใดจุดหนึ่งของร่างกายที่มีเซลล์มะเร็งโดยตรง เรียกว่า การรักษาด้วยรังสีจากภายนอกร่างกาย และอีกรูปแบบ คือ การรักษาด้วยรังสีจากภายในร่างกาย ซึ่งแพทย์อาจรักษาโดยการฝังแร่กัมมันตรังสีภายในร่างกาย (Brachytherapy)
สำหรับการรักษาด้วยรังสีจากภายนอกร่างกายมี 3 ประเภท ได้แก่
- การฉายรังสี 3 มิติ (3DCRT) ด้วยระบบภาพนําวิถี (IGRT) มักใช้กับผู้ป่วยที่ป่วยเป็นมะเร็งสมอง ตับ ปอดหรือต่อมลูกหมาก โดยแพทย์จะฉายรังสีที่มีขนาดและรูปร่างเหมือนเนื้องอก รังสีจะถูกปล่อยออกผ่านโลหะเล็กๆ ที่ออกแบบมาสำหรับเนื้องอกที่เป็นเป้าหมาย ขณะที่อวัยวะและเนื้อเยื่อที่มีความสำคัญ การฉายแสงด้วยระบบภาพนําวิถีจะสามารถค้นหาเนื้องอกภายในร่างกายที่มีการเคลื่อนไหว
- การฉายรังสีแบบปรับความเข้มหมุนรอบตัวผู้ป่วย (VMAT) ช่วยลดระยะเวลาในการฉายรังสีลง เพิ่มคุณภาพการรักษาที่ดีขึ้น
- การฉายรังสีแบบปรับความเข้ม (IMRT) เป็นการใช้ปริมาณรังสีที่มีความเข้มต่าง ๆ กัน ในแต่ละลำรังสี โดยมีเป้าหมายเพื่อให้รังสีฉายบริเวณก้อนมะเร็งได้แม่นยำขึ้น ในขณะเดียวกันสามารถลดปริมาณรังสีต่ออวัยวะข้างเคียงได้มากขึ้น มีผลข้างเคียงหลังการฉายรังสีน้อยลง
นอกจากนี้ยังมีการบำบัดมะเร็งด้วยการฉายอนุภาคโปรตอน (Proton) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีการฉายโปรตอนแบบปรับความเข้ม ทำให้เข้าถึงเซลล์มะเร็งในตำแหน่งที่ซับซ้อน เข้าถึงยากได้อย่างตรงจุด ช่วยลดผลข้างเคียงต่ออวัยวะอื่น ๆ บริเวณใกล้เคียงให้น้อยลง อีกทั้ง ยังช่วยลดจำนวนครั้งในการฉายแสงของผู้ป่วยแต่ละรายลงได้
สำหรับการรักษาด้วยรังสีจากภายในร่างกาย ประกอบด้วย
- การฝังแร่กัมมันตรังสี ทำโดยการฝังกัมมันตรังสีไอโอดีนหลายชิ้นในบริเวณที่มีเนื้องอก ด้วยเข็มแบบพิเศษหรือสายสวน ซึ่งช่วยรักษามะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งนรีเวช และมะเร็งเต้านม
- การฉายรังสีในระหว่างการผ่าตัด (Intraoperative radiation therapy) ทำได้เฉพาะระหว่างการผ่าตัดมะเร็งเท่านั้น โดยปล่อยรังสีปริมาณมากหลังจากทำการผ่าตัดเพื่อช่วยปกป้องเซลล์ที่ปกติที่อยู่รอบๆ
- การฉายรังสีร่วมพิกัดปริมาณรังสีสูงเพียงครั้งเดียว (Stereotactic radiosurgery) เป็นเทคนิคการรักษาที่ใช้ลำแสงขนาดเล็กจำนวนมากฉายรวมกันในหนึ่งครั้ง มักใช้เพื่อรักษามะเร็งที่ลุกลามไปยังสมองหรือบริเวณศีรษะและลำคอ
ระยะเวลาการฉายรังสีแต่ละครั้ง ประมาณ 10 – 30 นาที ซึ่งผู้ป่วยแต่ละรายจะใช้เวลาในการรักษาไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับตำแหน่ง ขนาด ระยะการดำเนินของโรค และชนิดของมะเร็ง โดยใช้เวลาในการรักษาประมาณ 4 – 7 สัปดาห์
ผลข้างเคียงจากการฉายรังสี
ผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาด้วยการฉายแสง อาจได้รับผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ เช่น รู้สึกหมดแรง อ่อนเพลียประมาณ 1-2 สัปดาห์ ความเครียดอาจทำให้อาการนี้แย่ลงได้ นอกจากนี้ อาจมีอาการผิวหนังบวมแดงได้เป็นระยะเวลาหลายสัปดาห์ ซึ่งอาการนี้มีชื่อเรียกว่า “ภาวะผิวหนังอักเสบจากการฉายรังสี” ส่วนผมร่วงก็เป็นอีกหนึ่งอาการข้างเคียงที่เกิดขึ้นได้บ่อย
โรงพยาบาลเวชธานีให้บริการการรักษาที่ครอบคลุมแม่นยำสำหรับผู้ป่วยแต่ละราย โดยควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับอาการที่เป็นและความเสี่ยงด้านสุขภาพก่อน ซึ่งเป็นขั้นตอนสำคัญในการวางแผนการรักษาเพื่อพิจารณาว่าผู้ป่วยเหมาะกับการรักษาด้วยรังสีหรือไม่
เบอร์โทรติดต่อ
Hi! How can we help you?