มกราคม 3, 2023
PM2.5 นำพา โรค มะเร็งปอด
แพทย์ชี้ PM2.5 เป็นสารก่อ มะเร็งปอด ชนิดหนึ่ง ควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมกลางแจ้งและใส่หน้ากากอนามัยเพื่อป้องกัน โดยเฉพาะในเด็กเล็กและผู้สูงอายุฝุ่นพิษจะกระตุ้นให้เกิดอาการได้ง่ายกว่าคนทั่วไป
หลายพื้นที่ทั่วประเทศไทยยังคงประสบปัญหามลภาวะฝุ่น PM2.5 ซึ่งถือเป็นสภาวะที่น่าเป็นห่วงเพราะฝุ่นขนาดเล็กนี้สามารถก่อให้เกิด โรค มะเร็งปอด ได้
นายแพทย์ธเนศ เดชศักดิพล อายุรแพทย์เฉพาะทางด้านมะเร็งวิทยา โรงพยาบาลเวชธานี เปิดเผยว่า ฝุ่นละอองพิษเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิด โรค มะเร็งปอด ได้ ซึ่งจากการศึกษาของหลาย ๆ สถาบัน พบว่า ฝุ่น PM 2.5 มีความสัมพันธ์และอาจเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อภาวะมะเร็งปอด
นอกจาก PM2.5 ที่เป็นปัจจัยในการก่อโรคแล้ว ยังมีปัจจัยเสี่ยงสำคัญอื่นที่ทำให้เกิด โรค มะเร็งปอด ได้แก่
- การสูบบุหรี่และได้รับควันบุหรี่ ซึ่งถือเป็นปัจจัยหลักในการเกิด โรค มะเร็งปอด รวมไปถึงมะเร็งชนิดอื่น ๆ ด้วย เช่น มะเร็งหู คอ จมูก, มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ เป็นต้น
- การทำงานในอุตสาหกรรมที่มีสารก่อมะเร็ง เช่น โครเมียม แร่ใยหิน แร่เรดอน นิกเกิล เรดอน เป็นต้น
- ประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็งปอด ถึงแม้ว่าโรคมะเร็งปอดจะไม่ได้ถ่ายทอดทางพันธุกรรมโดยตรงเหมือนมะเร็งบางชนิด แต่มีผลการศึกษาระบุว่าหากมีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็งปอดตั้งแต่อายุน้อย ๆ สมาชิกในครอบครัวจะมีความเสี่ยงสูงเช่นกัน
- ประวัติโรคปอดเรื้อรังเดิม เช่น โรคถุงลมปอดโป่งพองเรื้อรังและภาวะพังผืดที่ปอด จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งปอดมากขึ้น
“ พอเราทราบถึงปัจจัยเสี่ยงเบื้องต้นของ มะเร็งปอด แล้ว สิ่งที่เราสามารถทำได้ง่าย ๆ เพื่อลดความเสี่ยงก็คือการเลิกบุหรี่ หลีกเลี่ยงควันบุหรี่ และสภาวะแวดล้อมที่เป็นอากาศมลพิษ เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรค อีกทั้งคนที่มีความเสี่ยงควรตรวจคัดกรองเป็นประจำทุกปี โดยเฉพาะคนที่สูบบุหรี่ อายุตั้งแต่ 55 ปีขึ้นไป และสูบวันละประมาณ 1 ซอง มานานกว่า 30 ปี ตรวจคัดกรองมะเร็งปอดด้วยการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์แบบใช้ปริมาณรังสีต่ำ ซึ่งจะมีความละเอียดมากกว่าเอกซเรย์ธรรมดา อีกทั้งโรคมะเร็งปอดนั้นหากรู้เร็วมีโอกาสรักษาหายขาดได้ ” นายแพทย์ธเนศกล่าว
พร้อมกันนี้ ได้แนะนำวิธีป้องกันฝุ่น PM2.5 ว่า ควรลดกิจกรรมนอกบ้านและอยู่ภายในบ้านหรือในอาคารให้มากขึ้น แต่ถ้าจำเป็นต้องออกไปในที่โล่งแจ้งจริง ๆ ควรใส่หน้ากากสำหรับป้องกันฝุ่น PM2.5 นอกจากนี้ยังควรงดออกกำลังกายหรือออกแรงในที่ที่มีฝุ่นมาก และหากมีอาการผิดปกติ เช่น มีอาการระคายเคืองบริเวณทางเดินหายใจ แสบจมูก แสบคอ หายใจไม่สะดวก เหนื่อยง่าย หรือไอ ให้รีบปรึกษาแพทย์ทันที
“สำหรับผลกระทบต่อสุขภาพหากสัมผัสกับฝุ่นละอองขนาดเล็ก หากในระยะสั้นจะก่อให้เกิดการระคายเคืองบริเวณดวงตา,จมูก, คอ และทางเดินหายใจ บางครั้งอาจทำให้แสบตา ไอ จาม น้ำมูกไหล หายใจไม่สะดวก หอบเหนื่อย และอาจทำให้โรคประจำตัว เช่น โรคหอบหืดหรือโรคหัวใจกำเริบได้” นายแพทย์ธเนศกล่าว
ส่วนในระยะยาวนั้น ฝุ่นพิษขนาดเล็กนี้อาจทำให้เกิดโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง สมรรถภาพปอดลดลง และเกิดโรคมะเร็งปอด เนื่องจากฝุ่นขนาดเล็กเหล่านี้ถือเป็นสารก่อมะเร็งชนิดหนึ่ง อย่างไรก็ตามในผู้ป่วยที่มีปัญหาทางด้านระบบทางเดินหายใจ โรคหัวใจ เด็ก และผู้สูงอายุ จะมีความไวต่ออนุภาคขนาดเล็กมากขึ้น คือกระตุ้นให้เกิดอาการต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้นกว่าในคนปกติ
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม
ศูนย์มะเร็ง โรงพยาบาลเวชธานี
โทร 02-734-0000 ต่อ 2720
มกราคม 3, 2023
มะเร็งปอด รักษาได้ ดั่งแสงสว่างที่ปลายทาง
พฤศจิกายน 28, 2022
เบอร์โทรติดต่อ
Hi! How can we help you?