7 อาการเสี่ยงมะเร็งเต้านม

มะเร็งเต้านม เป็นมะเร็งที่พบมากที่สุดเป็นอันดับ 1 ของหญิงไทย และเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ในผู้หญิง โดยจะพบมากในช่วงอายุ 40 – 49 ปี ประมาณ 41% และอายุต่ำกว่า 39 ปี มี 18.6% เพราะฉะนั้นสิ่งสำคัญ คือ การสังเกตตัวเอง ซึ่งจะช่วยเพิ่มโอกาสพบมะเร็งตั้งแต่ระยะแรก ๆ เพื่อผลการรักษาที่ดี โดยมี 7 อาการที่ควรสังเกตดังนี้

  1. ขนาด หรือรูปร่างของเต้านมเปลี่ยนไป
  2. ผิวเต้านมมีรอยแดง, ผื่นแดงร้อนบวมหนาคล้ายเปลือกส้ม, แผลเปิดที่รักษาไม่หายที่เต้านม, แผลหรือผื่นรอบหัวนมที่รักษาไม่หายขาด
  3. คลำพบก้อนผิดปกติที่เต้านมหรือบริเวณรักแร้
  4. มีการเปลี่ยนแปลงของผิวหนัง เช่น มีรอยบุ๋มลงไปคล้ายลักยิ้ม
  5. หัวนมบุ๋ม
  6. มีของเหลวไหลออกจากหัวนม เช่น น้ำเลือดหรือน้ำเหลือง
  7. ปวดเต้านมที่ไม่สัมพันธ์กับประจำเดือน

หากพบว่ามีอาการผิดปกติ ควรเข้ามาพบแพทย์เพื่อได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม ผ่านการวินิจฉัยด้วยเครื่องแมมโมแกรมดิจิตอล 3 มิติ ร่วมกับการทำอัลตราซาวนด์ เพราะการพบมะเร็งตั้งแต่เนิ่น ๆ สามารถรักษาให้หายขาดได้

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม

ศูนย์เต้านม โรงพยาบาลเวชธานี โทร. 02-734-0000 ต่อ 2715, 2716

Related Posts

ตุลาคม 11, 2024

“มะเร็งกล้ามเนื้อหัวใจ” ภัยเงียบในหัวใจที่อาจเกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัว

โรคมะเร็งเป็นภัยคุกคามทางสุขภาพที่หลายคนทราบกันดี แต่สำหรับโรคมะเร็งกล้ามเนื้อหัวใจนั้น เป็นโรคที่พบได้ยากและมีข้อมูลน้อยมาก

ธันวาคม 19, 2023

TACE เคมีบำบัดทางหลอดเลือด ทางเลือกในการรักษามะเร็งตับตรงจุด

โรคมะเร็งตับ เป็นโรคมะเร็งที่พบมากที่สุดในประเทศไทย ผู้ป่วยมะเร็งตับมักจะมาพบแพทย์เมื่อมีอาการมากแล้วหรือเป็นระยะท้ายของโรค ขนาดของก้อนมะเร็งเมื่อตรวจพบมักโตเกินกว่าจะผ่าตัดได้

พฤษภาคม 18, 2023

เป็น ”นิ่วในถุงน้ำดี” แต่ไม่รีบรักษา มีความเสี่ยงเป็น “มะเร็ง” มากกว่าคนทั่วไป

อาการปวดท้องบริเวณด้านขวาบน มักเป็นอาการเสี่ยงของโรคนิ่วในถุงน้ำดี ซึ่งหลายคนเมื่อตรวจเจอแล้ว อาจยังไม่รีบรักษาเพราะคิดว่าอาการปวดที่เป็นยังไม่รุนแรง แต่การเก็บนิ่วในถุงน้ำดีไว้กับตัว นอกจากอาจจะเกิดถุงน้ำดีอักเสบหรือท่อน้ำดีอักเสบในอนาคตแล้ว คนที่มีนิ่วในถุงน้ำดีที่ขนาดใหญ่ยังมีความเสี่ยงเป็น “โรคมะเร็งถุงน้ำดี” มากกว่าคนทั่วไป ซึ่งถึงแม้จะเป็นโรคที่พบได้น้อยมาก แต่มีอัตราการการรอดชีวิตต่ำ เนื่องจากในระยะแรกมักไม่แสดงอาการ แต่เมื่อตรวจพบมักจะเข้าสู่ระยะ 3 และ 4 ซึ่งมีการลุกลามไปยังอวัยวะอื่นแล้ว

ที่ตั้งและการเดินทาง​ ที่ตั้งและการเดินทาง​

 

วิธีการเดินทาง

ค้นหาเราบนแผนที่
 

การติดต่อและนัดหมาย​

[email protected]
 

บริการฉุกเฉิน​

เบอร์โทรติดต่อ : 02-734-0000