ไฝหรือมะเร็ง สังเกตให้ดี แยกให้ออก

มะเร็งเมลาโนมา (Malignant melanoma) เป็นมะเร็งผิวหนังชนิดหนึ่ง ถูกพัฒนามาจากเซลล์เมลาโนไซต์ ซึ่งเดิมที มีหน้าที่สร้างเมลานิน มะเร็งชนิดนี้จึงมีเม็ดสี บางครั้งคนเข้าใจว่าเป็นไฝหรือปาน

ปัจจัยเสี่ยมะเร็งเมลาโนมา

  • เพศหญิง
  • การสัมผัสรังสีอัลตร้าไวโอเลต
  • อายุที่เพิ่มขึ้น (โดยเฉพาะอายุมากกว่า 40ปี )

อาการของมะเร็งเมลาโนมา

สามารถก่อตัวขึ้นที่ใดก็ได้ในร่างกาย แต่ส่วนใหญ่มักจะเกิดกับบริเวณผิวหนังที่ถูกแสงแดด มักจะเริ่มต้นด้วยลักษณะคล้ายไฝ ทำให้บางคนไม่ได้ตระหนักถึง

ลักษณะมะเร็งเมลาโนมาเป็นอย่างไร ?

  • มีรูปร่างไม่สมส่วน
  • มีขอบผิดปกติ
  • มีหลายสี หรือมีสีที่ไม่สม่ำเสมอ
  • มีขนาดใหญ่ขึ้น
  • มีการเปลี่ยนแปลงสี รูปร่าง
  • มีอาการคัน เลือดออก หรือมีลักษณะเป็นแผล

การรักษา

การรักษาโรคมะเร็ง ขึ้นอยู่กับระยะของโรคและความเหมาะสมของคนไข้ มีตั้งแต่ การผ่าตัด ยาเคมีบำบัด การฉายรังสี การใช้ยาที่ไม่ใช่ยาเคมีบำบัด (biologic treatment) ยามุ่งเป้า (Targeted therapy) แต่อย่างไรก็ตาม บางครั้งอาจจะสังเกตยาก หากสงสัยไม่ควรปล่อยไว้ควรมาพบแพทย์เฉพาะทางโรคผิวหนัง ซึ่งหากแพทย์สงสัยอาจจะตัดไปตรวจเพื่อให้การวินิจฉัยที่แม่นยำที่สุด


ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
ศูนย์มะเร็ง โรงพยาบาลเวชธานี
โทร. 02-734-0390 ต่อ 2702

Related Posts

ตุลาคม 11, 2024

“มะเร็งกล้ามเนื้อหัวใจ” ภัยเงียบในหัวใจที่อาจเกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัว

โรคมะเร็งเป็นภัยคุกคามทางสุขภาพที่หลายคนทราบกันดี แต่สำหรับโรคมะเร็งกล้ามเนื้อหัวใจนั้น เป็นโรคที่พบได้ยากและมีข้อมูลน้อยมาก

ธันวาคม 19, 2023

TACE เคมีบำบัดทางหลอดเลือด ทางเลือกในการรักษามะเร็งตับตรงจุด

โรคมะเร็งตับ เป็นโรคมะเร็งที่พบมากที่สุดในประเทศไทย ผู้ป่วยมะเร็งตับมักจะมาพบแพทย์เมื่อมีอาการมากแล้วหรือเป็นระยะท้ายของโรค ขนาดของก้อนมะเร็งเมื่อตรวจพบมักโตเกินกว่าจะผ่าตัดได้

พฤษภาคม 18, 2023

เป็น ”นิ่วในถุงน้ำดี” แต่ไม่รีบรักษา มีความเสี่ยงเป็น “มะเร็ง” มากกว่าคนทั่วไป

อาการปวดท้องบริเวณด้านขวาบน มักเป็นอาการเสี่ยงของโรคนิ่วในถุงน้ำดี ซึ่งหลายคนเมื่อตรวจเจอแล้ว อาจยังไม่รีบรักษาเพราะคิดว่าอาการปวดที่เป็นยังไม่รุนแรง แต่การเก็บนิ่วในถุงน้ำดีไว้กับตัว นอกจากอาจจะเกิดถุงน้ำดีอักเสบหรือท่อน้ำดีอักเสบในอนาคตแล้ว คนที่มีนิ่วในถุงน้ำดีที่ขนาดใหญ่ยังมีความเสี่ยงเป็น “โรคมะเร็งถุงน้ำดี” มากกว่าคนทั่วไป ซึ่งถึงแม้จะเป็นโรคที่พบได้น้อยมาก แต่มีอัตราการการรอดชีวิตต่ำ เนื่องจากในระยะแรกมักไม่แสดงอาการ แต่เมื่อตรวจพบมักจะเข้าสู่ระยะ 3 และ 4 ซึ่งมีการลุกลามไปยังอวัยวะอื่นแล้ว

ที่ตั้งและการเดินทาง​ ที่ตั้งและการเดินทาง​

 

วิธีการเดินทาง

ค้นหาเราบนแผนที่
 

การติดต่อและนัดหมาย​

[email protected]
 

บริการฉุกเฉิน​

เบอร์โทรติดต่อ : 02-734-0000