เชื้อราสารแฝงอาหารแห้ง ตัวก่อมะเร็งตับ

วัตถุดิบจากธรรมชาติมีความปลอดภัยสูง กว่าอาหารแปรรูปก็จริง แต่รู้หรือไม่ว่า ถ้าเก็บรักษาไม่ดีพอ หรือเก็บในที่ที่ไม่เหมาะสมก็ก่อให้เกิดเชื้อรา หรือสิ่งแปลกปลอมที่คุณอาจมองไม่เห็น ซึ่งหากสารพิษเหล่านี้เข้าสู่ร่างกายและเกิดการสะสม จะส่งผลให้เกิดอันตรายต่อร่างกายจนเกิดเป็น “มะเร็งตับ” ได้ เพราะในเชื้อราจะมี อะฟลาท็อกซิน (Aflatoxin) สารก่อมะเร็งอันตรายชนิดหนึ่งที่พบได้ในเชื้อราที่ปนเปื้อนอยู่ในอาหารแห้ง ธัญพืช ต่างๆ เช่น ถั่ว เม็ดมะม่วงหิมพานต์ ข้าวโพดแห้ง หัวหอมแห้ง กระเทียมแห้ง พริกแห้ง พริกไทย ผลไม้อบแห้ง ปลาแห้ง กุ้งแห้ง เป็นต้น

การรับประทานอาหารที่มีการปนเปื้อนของเชื้อรา จะทำให้เกิดการอักเสบที่ตับเรื้อรัง จนเกิดภาวะตับแข็ง และก่อให้เกิดมะเร็งตับในที่

จากการศึกษาพบว่า การได้รับสารอะฟลาท็อกซินปริมาณเพียง 1 ไมโครกรัม สามารถทำให้เกิดการกลายพันธ์ุในแบคทีเรียและก่อให้เกิดมะเร็งในสัตว์ทดลองได้เมื่อได้รับสารอย่างต่อเนื่อง

ดังนั้นการเลือกซื้ออาหารแห้ง ธัญพืชต่างๆ จึงควรเลือกอย่างระมัดระวัง บรรจุภัณฑ์ควรอยู่ในสภาพใหม่ ได้มาตรฐาน ไม่มีกลิ่นอับหรือชื้น เพื่อป้องกันการได้รับสารอะฟลาท็อกซิน

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม

ศูนย์มะเร็ง
โทร. 02-734-0000 ต่อ 2720

Related Posts

ตุลาคม 11, 2024

“มะเร็งกล้ามเนื้อหัวใจ” ภัยเงียบในหัวใจที่อาจเกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัว

โรคมะเร็งเป็นภัยคุกคามทางสุขภาพที่หลายคนทราบกันดี แต่สำหรับโรคมะเร็งกล้ามเนื้อหัวใจนั้น เป็นโรคที่พบได้ยากและมีข้อมูลน้อยมาก

ธันวาคม 19, 2023

TACE เคมีบำบัดทางหลอดเลือด ทางเลือกในการรักษามะเร็งตับตรงจุด

โรคมะเร็งตับ เป็นโรคมะเร็งที่พบมากที่สุดในประเทศไทย ผู้ป่วยมะเร็งตับมักจะมาพบแพทย์เมื่อมีอาการมากแล้วหรือเป็นระยะท้ายของโรค ขนาดของก้อนมะเร็งเมื่อตรวจพบมักโตเกินกว่าจะผ่าตัดได้

พฤษภาคม 18, 2023

เป็น ”นิ่วในถุงน้ำดี” แต่ไม่รีบรักษา มีความเสี่ยงเป็น “มะเร็ง” มากกว่าคนทั่วไป

อาการปวดท้องบริเวณด้านขวาบน มักเป็นอาการเสี่ยงของโรคนิ่วในถุงน้ำดี ซึ่งหลายคนเมื่อตรวจเจอแล้ว อาจยังไม่รีบรักษาเพราะคิดว่าอาการปวดที่เป็นยังไม่รุนแรง แต่การเก็บนิ่วในถุงน้ำดีไว้กับตัว นอกจากอาจจะเกิดถุงน้ำดีอักเสบหรือท่อน้ำดีอักเสบในอนาคตแล้ว คนที่มีนิ่วในถุงน้ำดีที่ขนาดใหญ่ยังมีความเสี่ยงเป็น “โรคมะเร็งถุงน้ำดี” มากกว่าคนทั่วไป ซึ่งถึงแม้จะเป็นโรคที่พบได้น้อยมาก แต่มีอัตราการการรอดชีวิตต่ำ เนื่องจากในระยะแรกมักไม่แสดงอาการ แต่เมื่อตรวจพบมักจะเข้าสู่ระยะ 3 และ 4 ซึ่งมีการลุกลามไปยังอวัยวะอื่นแล้ว

ที่ตั้งและการเดินทาง​ ที่ตั้งและการเดินทาง​

 

วิธีการเดินทาง

ค้นหาเราบนแผนที่
 

การติดต่อและนัดหมาย​

[email protected]
 

บริการฉุกเฉิน​

เบอร์โทรติดต่อ : 02-734-0000