เคมีบำบัดชนิดรับประทาน หนึ่งในมาตรฐานยารักษาโรคมะเร็ง

การวางแผนการรักษาโรคมะเร็งในปัจจุบัน แพทย์จะพิจารณาจากชนิดของมะเร็งและระยะของโรคเป็นสำคัญ ซึ่งวิธีการรักษาแบบมาตรฐาน มีตั้งแต่การผ่าตัด การฉายรังสี รวมถึงการให้ยารักษามะเร็ง เช่น เคมีบำบัด ซึ่งมีทั้งแบบฉีดและแบบรับประทาน เป็นต้น

นายแพทย์ธเนศ เดชศักดิพล อายุรแพทย์เฉพาะทางด้านมะเร็งวิทยา โรงพยาบาลเวชธานี อธิบายว่า การรักษาผู้ป่วยมะเร็งระยะแรก ที่ไม่มีการกระจายของเซลล์มะเร็งไปยังอวัยวะอื่น โดยทั่วไปมักเริ่มจากการผ่าตัด และในบางกรณีอาจรักษาร่วมกับการฉายรังสี หรือการให้ยาเคมีบำบัด นอกจากนี้ ในผู้ป่วยมะเร็งที่ไม่สามารถรักษาได้ด้วยการผ่าตัด แพทย์อาจจะพิจารณาให้ผู้ป่วยเข้าสู่กระบวนการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด โดยทั่วไปการออกฤทธิ์ของยาเคมีบำบัดจะเข้าไปช่วยทำลายเซลล์มะเร็ง และหยุดยั้งหรือชะลอการเจริญเติบโตและการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็ง ซึ่งยาเคมีบำบัดในปัจจุบันมีทั้งชนิดฉีดเข้าเส้นเลือด และชนิดรับประทานการใช้ยาเคมีบำบัดชนิดรับประทาน หรือที่เรียกว่า ยาเคมีบำบัดแบบเม็ด แพทย์จะพิจารณาจากชนิดและระยะของโรคมะเร็งชนิดนั้น ๆ รวมถึงผลข้างเคียงของยาและสภาพผู้ป่วย โดยส่วนใหญ่มักใช้ในการรักษาโรคมะเร็งเต้านมระยะแพร่กระจาย และมะเร็งลำไส้ใหญ่ เป็นต้น

ซึ่งจะเป็นไปตามสูตรยารักษาโรคมะเร็งที่เหมาะสม บางสูตร สามารถเลือกได้ว่าต้องการแบบฉีดหรือแบบรับประทาน ขณะที่บางสูตรอาจต้องใช้ทั้งแบบฉีดและแบบรับประทานร่วมกัน เพื่อประสิทธิภาพการรักษาที่ดีในผู้ป่วยมะเร็งเต้านม แพทย์อาจพิจารณาให้ยาเคมีบำบัดแบบเม็ดให้กับผู้ป่วยที่เป็นระยะแพร่กระจายแล้ว เนื่องจากในระยะอื่น ๆ ยาเคมีบำบัดแบบฉีดจะมีประสิทธิภาพมากกว่า ขณะที่ผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ จะดูจากระยะของโรคเป็นหลัก เช่น ผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ระยะที่ 2 ที่มีความเสี่ยงสูง สามารถรับยาเคมีบำบัดแบบเม็ดในการรักษาได้ แต่หากเป็นผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ระยะ 3 หรือระยะ 4 อาจต้องใช้ยาเคมีบำบัด 2 ชนิดร่วมกันอย่างไรก็ตาม แม้ว่ายาเคมีบำบัดแบบเม็ดจะให้ความสะดวกต่อการรักษามากกว่า เนื่องจากไม่ต้องเจ็บปวดจากการแทงเข็มหาเส้นเลือด แต่ในด้านผลข้างเคียงแทบไม่ต่างกับยาเคมีบำบัดแบบฉีด เนื่องจากตัวยาส่งผลกระทบต่อเซลล์ปกติของร่างกายเหมือนกัน เช่น เม็ดเลือดขาวต่ำ มีอาการท้องเสีย เจ็บปลายมือปลายเท้า หรือมีแผลพุพองในปาก เป็นต้น

ปัจจุบันยาเคมีบำบัดมีทั้งชนิดรับประทานและฉีด โดยแบบรับประทานมักจะให้ทุก 3 สัปดาห์ต่อครั้ง ผู้ป่วยบางรายอาจรู้สึกอ่อนเพลีย หมดกำลังใจภายหลังได้รับยาเคมีบำบัด จึงอยากแนะนำให้ผู้ป่วยมะเร็งทุกคนอย่าเพิ่งหมดหวังกับการรักษา และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างสม่ำเสมอ เพราะผู้ป่วยมีส่วนสำคัญในการที่จะทำให้การรักษานั้น ได้ผลดีและประสบความสำเร็จนายแพทย์ธเนศกล่าว

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม

Life Cancer Center
โทร. 02-734-0000 ต่อ 2720

Related Posts

ตุลาคม 11, 2024

“มะเร็งกล้ามเนื้อหัวใจ” ภัยเงียบในหัวใจที่อาจเกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัว

โรคมะเร็งเป็นภัยคุกคามทางสุขภาพที่หลายคนทราบกันดี แต่สำหรับโรคมะเร็งกล้ามเนื้อหัวใจนั้น เป็นโรคที่พบได้ยากและมีข้อมูลน้อยมาก

ธันวาคม 19, 2023

TACE เคมีบำบัดทางหลอดเลือด ทางเลือกในการรักษามะเร็งตับตรงจุด

โรคมะเร็งตับ เป็นโรคมะเร็งที่พบมากที่สุดในประเทศไทย ผู้ป่วยมะเร็งตับมักจะมาพบแพทย์เมื่อมีอาการมากแล้วหรือเป็นระยะท้ายของโรค ขนาดของก้อนมะเร็งเมื่อตรวจพบมักโตเกินกว่าจะผ่าตัดได้

พฤษภาคม 18, 2023

เป็น ”นิ่วในถุงน้ำดี” แต่ไม่รีบรักษา มีความเสี่ยงเป็น “มะเร็ง” มากกว่าคนทั่วไป

อาการปวดท้องบริเวณด้านขวาบน มักเป็นอาการเสี่ยงของโรคนิ่วในถุงน้ำดี ซึ่งหลายคนเมื่อตรวจเจอแล้ว อาจยังไม่รีบรักษาเพราะคิดว่าอาการปวดที่เป็นยังไม่รุนแรง แต่การเก็บนิ่วในถุงน้ำดีไว้กับตัว นอกจากอาจจะเกิดถุงน้ำดีอักเสบหรือท่อน้ำดีอักเสบในอนาคตแล้ว คนที่มีนิ่วในถุงน้ำดีที่ขนาดใหญ่ยังมีความเสี่ยงเป็น “โรคมะเร็งถุงน้ำดี” มากกว่าคนทั่วไป ซึ่งถึงแม้จะเป็นโรคที่พบได้น้อยมาก แต่มีอัตราการการรอดชีวิตต่ำ เนื่องจากในระยะแรกมักไม่แสดงอาการ แต่เมื่อตรวจพบมักจะเข้าสู่ระยะ 3 และ 4 ซึ่งมีการลุกลามไปยังอวัยวะอื่นแล้ว

ที่ตั้งและการเดินทาง​ ที่ตั้งและการเดินทาง​

 

วิธีการเดินทาง

ค้นหาเราบนแผนที่
 

การติดต่อและนัดหมาย​

[email protected]
 

บริการฉุกเฉิน​

เบอร์โทรติดต่อ : 02-734-0000