หมดความกังวลเมื่อต้องผ่าตัดมะเร็งเต้านม ด้วย 2 เทคนิคการรักษาจากแพทย์เฉพาะทาง

“ มะเร็งเต้านม ” เป็นโรคที่สามารถรักษาให้หายขาดได้เมื่อตรวจพบในระยะเริ่มแรก แต่หากมีการตรวจพบในระยะอื่น ๆ ใช่ว่าจะไม่มีทางรักษา เพราะปัจจุบันการผ่าตัดรักษามะเร็งมีหลายแนวทาง ที่จะทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยดีขึ้น

แพทย์หญิงรับพร สุขพานิช ศัลยแพทย์เฉพาะทางด้านมะเร็งวิทยาและโรคของเต้านม โรงพยาบาลเวชธานี อธิบายว่า โดยทั่วไปเมื่อได้รับการตรวจเต้านมด้วยการทำดิจิตอลแมมโมแกรม 3 มิติ หรือการทำอัลตราซาวนด์ และพบว่ามีความผิดปกติของเต้านม แพทย์จะแนะนำให้เจาะชิ้นเนื้อเพื่อดูรายละเอียดของความผิดปกตินั้น ๆ ก่อนพิจารณาผ่าตัด หากมีข้อบ่งชี้ ได้แก่

  1. ก้อนเนื้อมะเร็ง
  2. ก้อนเนื้อมีความเสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านม 
  3. เนื้องอกที่โตเร็ว (Phyllodes Tumor) หรือก้อนเนื้องอกปกติที่มีขนาดใหญ่ (Giant Fibroadenoma) 
  4. กรณีที่ผลชิ้นเนื้อและผลตรวจ Ultrasound กับ Mammogram ไม่สอดคล้องกัน

การผ่าตัด นับเป็นการรักษาหลักของมะเร็งเต้านม ในปัจจุบันแบ่งการผ่าตัดรักษาเป็น 2 แนวทาง ได้แก่ การผ่าตัดสงวนเต้า และการผ่าตัดทั้งเต้าแต่จะมีการเสริมสร้างเต้านมขึ้นมาใหม่

  • การผ่าตัดสงวนเต้า (Breast Conservative Surgery) คือการผ่าตัดก้อนเนื้อและบริเวณรอบ ๆ ที่เป็นเนื้อดีออก เพื่อให้มั่นใจว่าไม่มีเซลล์มะเร็งแล้ว โดยคนไข้ต้องได้รับการฉายแสงเพื่อลดโอกาสการกลับมาเป็นซ้ำ และป้องกันการกระจายของโรค โดยการผ่าตัดสงวนเต้าจะไม่แนะนำในกลุ่มผู้ป่วยดังต่อไปนี้
  1. ผู้หญิงตั้งครรภ์ เพราะไม่สามารถฉายแสงได้
  2. กลุ่มที่มีหินปูนผิดปกติทั่วเต้านม
  3. มีก้อนเนื้อหลายก้อน เพราะการผ่าตัดด้วยแผลเดียว อาจจะเอาก้อนออกไม่หมด 
  4. กลุ่มที่มีความผิดปกติของก้อน (บางชนิดเท่านั้น) 
  5. กลุ่มที่เคยฉายแสงมาที่เต้านมมาก่อน เมื่อต้องฉายแสงซ้ำอาจเกินโดสที่เคยฉายไปแล้ว 
  6. มีโรคทางผิวหนังบางชนิด
  • การผ่าตัดทั้งเต้า (Mastectomy) คือการผ่าตัดเต้านมออกทั้งหมด ซึ่งหลังจากผ่าตัดเต้านมไปแล้ว ยังมีเทคนิคการเสริมสร้างเต้านมใหม่ เพื่อเพิ่มความมั่นใจให้กับคนไข้ ได้แก่ วิธีการย้ายเนื้อเยื่อจากบริเวณอื่นของร่างกายเพื่อสร้างเต้านมใหม่, การเสริมเต้านมด้วยซิลิโคน, การใช้ Tissue expander หรือยืดผิวหนังหน้าอกก่อนใส่ซิลิโคน, และการเสริมเต้านมด้วยการ เติมไขมัน เพิ่มขนาดหน้าอก  ทั้งนี้ ศัลยแพทย์ผู้ทำการผ่าตัดมะเร็งเต้านม จะเป็นผู้ให้คำปรึกษาอย่างละเอียดและร่วมวางแผนการดูแลรักษาร่วมกับผู้ป่วยและครอบครัว

วิทยาการด้านการรักษาโรคทางเต้านม โดยเฉพาะมะเร็งเต้านม เป็นเรื่องที่ค่อนข้างซับซ้อน เนื่องจากมีเทคนิคการรักษาใหม่ ๆ เกิดขึ้นตลอดเวลา ดังนั้น การเข้ารับการรักษากับศัลยแพทย์ที่มีความเฉพาะทางด้านเต้านมและมะเร็งเต้านม จะส่งผลต่อการวางแผนการรักษาที่มีประสิทธิภาพสูงสุดแพทย์หญิงรับพรกล่าว

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม

Life Cancer Center
โทร. 02-734-0000 ต่อ 2720

Related Posts

ตุลาคม 11, 2024

“มะเร็งกล้ามเนื้อหัวใจ” ภัยเงียบในหัวใจที่อาจเกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัว

โรคมะเร็งเป็นภัยคุกคามทางสุขภาพที่หลายคนทราบกันดี แต่สำหรับโรคมะเร็งกล้ามเนื้อหัวใจนั้น เป็นโรคที่พบได้ยากและมีข้อมูลน้อยมาก

ธันวาคม 19, 2023

TACE เคมีบำบัดทางหลอดเลือด ทางเลือกในการรักษามะเร็งตับตรงจุด

โรคมะเร็งตับ เป็นโรคมะเร็งที่พบมากที่สุดในประเทศไทย ผู้ป่วยมะเร็งตับมักจะมาพบแพทย์เมื่อมีอาการมากแล้วหรือเป็นระยะท้ายของโรค ขนาดของก้อนมะเร็งเมื่อตรวจพบมักโตเกินกว่าจะผ่าตัดได้

พฤษภาคม 18, 2023

เป็น ”นิ่วในถุงน้ำดี” แต่ไม่รีบรักษา มีความเสี่ยงเป็น “มะเร็ง” มากกว่าคนทั่วไป

อาการปวดท้องบริเวณด้านขวาบน มักเป็นอาการเสี่ยงของโรคนิ่วในถุงน้ำดี ซึ่งหลายคนเมื่อตรวจเจอแล้ว อาจยังไม่รีบรักษาเพราะคิดว่าอาการปวดที่เป็นยังไม่รุนแรง แต่การเก็บนิ่วในถุงน้ำดีไว้กับตัว นอกจากอาจจะเกิดถุงน้ำดีอักเสบหรือท่อน้ำดีอักเสบในอนาคตแล้ว คนที่มีนิ่วในถุงน้ำดีที่ขนาดใหญ่ยังมีความเสี่ยงเป็น “โรคมะเร็งถุงน้ำดี” มากกว่าคนทั่วไป ซึ่งถึงแม้จะเป็นโรคที่พบได้น้อยมาก แต่มีอัตราการการรอดชีวิตต่ำ เนื่องจากในระยะแรกมักไม่แสดงอาการ แต่เมื่อตรวจพบมักจะเข้าสู่ระยะ 3 และ 4 ซึ่งมีการลุกลามไปยังอวัยวะอื่นแล้ว

ที่ตั้งและการเดินทาง​ ที่ตั้งและการเดินทาง​

 

วิธีการเดินทาง

ค้นหาเราบนแผนที่
 

การติดต่อและนัดหมาย​

[email protected]
 

บริการฉุกเฉิน​

เบอร์โทรติดต่อ : 02-734-0000