ลดบวมน้ำเหลือง มะเร็งเต้านม ด้วยเครื่องบำบัดแรงดันลบ

การรักษามะเร็งเต้านมส่วนใหญ่จะเริ่มต้นด้วยวิธีการผ่าตัด เพราะเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในการควบคุมโรคมะเร็งเต้านม แต่ผู้ป่วยหลายคนมักประสบปัญหามีอาการบวมน้ำเหลืองหลังจากผ่าตัด ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตในด้านต่าง ๆ เช่น การเคลื่อนไหวร่างกาย และความกังวลเกี่ยวกับอาการ

นายแพทย์ธนวัฒน์ เพชรรัชตะชาติ แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลเวชธานี อธิบายว่า การผ่าตัดมะเร็งเต้านม มักจะต้องมีการเลาะต่อมน้ำเหลืองบริเวณรักแร้ออก เพื่อประเมินการลุกลามของโรค และเพื่อกำจัดมะเร็งที่ลุกลามไปยังต่อมน้ำเหลือง เมื่อต่อมน้ำเหลืองใต้รักแร้ถูกเลาะออกไปจะทำให้การขนส่งน้ำเหลืองหยุดชะงัก น้ำเหลืองบริเวณนั้นจึงเพิ่มขึ้น ส่งผลให้เกิดการอุดตันและมีอาการบวมน้ำเหลืองตามมา โดยเฉพาะหากได้รับการผ่าตัดเลาะต่อมน้ำเหลืองใต้รักแร้ร่วมกับการฉายรังสี จะมีโอกาสเกิดภาวะแขนบวมน้ำเหลืองมากกว่า 30 %

อาการบวมน้ำเหลืองสามารถเกิดขึ้นได้กับผู้ป่วยมะเร็งเต้านมทุกคนที่ได้รับการรักษา โดยส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะมีความเสี่ยงเรื่องแขนบวมน้ำเหลืองมากที่สุดในช่วง 3 ปีแรก (12 – 30 เดือน) ซึ่งในปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาอาการบวมน้ำเหลืองให้หายขาด แต่เป้าหมายของการรักษาคือ ลดอาการบวม และรักษาระดับอาการให้กลับสู่ระยะที่ไม่แสดงอาการ

วิธีการลดบวมน้ำเหลืองที่เป็นมาตรฐาน คือ Complete Decongestive Therapy หรือ CDT ประกอบไปด้วย การดูแลผิว, การนวดระบายน้ำเหลือง, การใช้ผ้ายืดหรือปลอกแขนลดบวม, และการออกกำลังกาย ซึ่งการนวดระบายน้ำเหลือง เป็นการนวดเพื่อกระตุ้นให้ระบบไหลเวียนน้ำเหลืองทำงานได้ดียิ่งขึ้น อาการบวมก็จะลดลง

ในปัจจุบัน มีการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยกระตุ้นระบบน้ำเหลือง เรียกว่า “เครื่องบำบัดแรงดันลบ” หรือ Negative Pressure Therapy หลักการคือเครื่องมือตัวนี้จะทำให้เนื้อเยื่อในบริเวณที่รักษามีการขยายออก ส่งผลให้ผนังหลอดน้ำเหลืองฝอยขยายตัว ของเสียจึงไหลเข้าสู่หลอดน้ำเหลืองฝอยได้มากขึ้น ซึ่งเป็นการกระตุ้นให้กลไกการทำงานของระบบน้ำเหลืองกลับมาปกติ โดยใช้ระยะเวลาในการทำประมาณ 45 – 60 นาที/ครั้ง แนะนำทำ 3 ครั้ง/สัปดาห์ รวม 10 – 15 ครั้ง ซึ่งสามารถทำภายหลังการผ่าตัดได้โดยมีจะมีแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูเป็นผู้ประเมินผู้ป่วยเป็นราย ๆ ไป

ข้อดีของการกระตุ้นระบบน้ำเหลืองด้วยเครื่องบำบัดแรงดันลบ คือมีประสิทธิภาพในการลดบวมน้ำเหลืองมากกว่าการนวด ลดความเมื่อยล้าของนักกายภาพบำบัด ลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเนื่องมาจากการสัมผัสโดยตรงกับผู้ป่วย

“แนะนำผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับการผ่าตัดรักษาแล้ว ควรกลับมาพบแพทย์ภายในระยะเวลา 1 เดือนหลังผ่าตัด เพื่อให้แพทย์ได้ประเมินความเสี่ยงต่าง ๆ รวมถึงภาวะบวมน้ำเหลือง แต่หากผู้ป่วยสังเกตว่ามีอาการบวมเกิดขึ้นและเป็นมากขึ้นเรื่อย ๆ ให้รีบมาพบแพทย์ทันทีโดยไม่ต้องรอให้ครบ 1 เดือน” นายแพทย์ธนวัฒน์กล่าว

Related Posts

พฤศจิกายน 25, 2024

“มะเร็งไม่ใช่จุดจบ การปลูกถ่ายไขกระดูกคือจุดเริ่มต้นของชีวิตใหม่” | โรงพยาบาลเวชธานี

หลังจากที่ประสบอุบัติเหตุจนเกิดอาการปวดแขน ปวดข้อ กินไม่ได้ นอนไม่ได้ จึงไปหาหมอที่ รพ.แห่งหนึ่งและตรวจพบว่าตัวเองเป็นมะเร็งไขกระดูก

ตุลาคม 11, 2024

ตรวจพบจบทุกขั้นตอน การรักษามะเร็งเต้านม หมดปัญหาการสูญเสียเต้านม

“คนที่เป็นมะเร็งมันมืดแปดด้านไปหมด ไม่รู้ว่าจะต้องรักษาอย่างไรต่อ แต่พอเรามาที่โรงพยาบาลเวชธานี เราสามารถผ่าตัด ฉายแสง

ตุลาคม 11, 2024

3D Mammogram คัดกรองมะเร็งเต้านม ภาพชัด เจ็บน้อย

คนในครอบครัวเป็นซีสต์ที่หน้าอก เลยตัดสินใจมาตรวจแมมโมแกรมที่โรงพยาบาลเวชธานี เพราะเครื่องมือทันสมัย บริการดี คุณหมอเฉพาะทางแนะนำดี

ที่ตั้งและการเดินทาง​ ที่ตั้งและการเดินทาง​

 

วิธีการเดินทาง

ค้นหาเราบนแผนที่
 

การติดต่อและนัดหมาย​

[email protected]
 

บริการฉุกเฉิน​

เบอร์โทรติดต่อ : 02-734-0000