มกราคม 3, 2023
รู้จัก “เคมีบำบัด” เพื่อการรักษาผู้ป่วยมะเร็งอย่างมีประสิทธิภาพ
คีโม หรือ เคมีบำบัด (Chemotherapy) เป็นวิธีการรักษาโรคมะเร็งที่สำคัญวิธีการหนึ่ง โดยการให้ยาที่ออกฤกธิ์ต้าน ชะลอ หรือทำลายเซลล์มะเร็ง ซึ่งเป้าหมายสำคัญคือเซลล์ที่มีการแบ่งตัวเร็ว กลไกการออกฤทธิ์ของเคมีบำบัด คือการยับยั้งขั้นตอนต่าง ๆ ของการแบ่งเซลล์ เมื่อแบ่งเซลล์ไม่ได้ เซลล์มะเร็งก็ไม่สามารถโตต่อได้
วิธีการให้เคมีบำบัด
การเลือกสูตรยาเคมีบำบัด ผู้ป่วยอาจได้รับยาเคมีบำบัดเพียงชนิดเดียวหรือหลายชนิดร่วมกัน โดยแพทย์จะพิจารณาจากหลายปัจจัย อาทิ ชนิดของมะเร็ง ระยะของมะเร็ง สุขภาพของผู้ป่วย ประวัติการรักษา ฯลฯ
ปัจจุบันการบริหารยาเคมีบำบัด สามารถให้ได้ในรูปแบบรับประทาน และรูปแบบฉีด ขึ้นอยู่กับสูตรของยา โดยปกติจะให้เป็นรอบ ๆ แต่ละรอบมีระยะที่แตกต่างกัน โดยทั่วไปจะห่างกันประมาณ 2-6 สัปดาห์ ซึ่งผู้ป่วยควรมารับเคมีบำบัดตามนัดทุกครั้ง เพื่อผลการรักษาที่ดี
ผลข้างเคียงจากเคมีบำบัด
ทั้งนี้ เคมีบำบัด ออกฤทธิ์ได้ดีกับเซลล์ที่มีการแบ่งตัวเร็ว ซึ่งเป้าหมายที่แท้จริงคือเซลล์มะเร็ง แต่ในร่างกายยังมีเซลล์บางชนิดที่แบ่งตัวเร็วเช่นกัน การทำเคมีบำบัดจึงส่งผลกระทบต่อเซลล์ปกติทั่วไป และการทำงานของอวัยวะอื่น ๆ ซึ่งก่อให้เกิดผลข้างเคียงไม่พึงประสงค์ตามมา ยกตัวอย่างเช่น
- ปากลอก
- แผลในปาก
- ร้อนใน
- คลื่นไส้ อาเจียน
- เบื่ออาหาร
- ท้องเสียง
- ผมร่วง
อย่างไรก็ตาม ความรุนแรงของเคมีบำบัด ขึ้นอยู่กับชนิดของยา ความแข็งแรงของร่างกายของผู้ป่วย และความพร้อมด้านจิตใจของผู้ป่วย ดังนั้นระหว่างการทำเคมีบำบัด ผู้ป่วยควรดูแลสุขภาพให้ดี ทั้งการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ครบทั้ง 5 หมู่ ให้ความสำคัญเรื่องสุขอนามัย ความสะอาด พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายเบา ๆ หรือเคลื่อนไหวให้ร่างกายสดชื่น เพื่อให้ร่างกายสามารถรับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม
ศูนย์มะเร็ง โรงพยาบาลเวชธานี โทร 02-734-0000 ต่อ 2720 , 2721
มกราคม 3, 2023
มะเร็งเต้านม ตรวจพบเร็ว รักษาหายได้
พฤศจิกายน 23, 2022
เบอร์โทรติดต่อ
Hi! How can we help you?