มะเร็งที่พบบ่อยในไทย

มะเร็งลำไส้ใหญ่ พบได้บ่อยในผู้ชาย 16% และผู้หญิง 10 %

โรคมะเร็งลำไส้ที่ถือเป็นหนึ่งในสามของชนิดมะเร็งสุดฮิตของคนไทย พบผู้ป่วยรายใหม่ ประมาณล้านคนต่อปี ซึ่งจำนวนผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่เพิ่มขึ้นทุกปี และอายุของผู้ป่วยก็น้อยลงทุกปีเข่นกัน สาเหตุจริง ๆ ยังไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ยืนยันได้ว่ามาจากสาเหตุใด แต่คาดว่ามีสาเหตุหลักมาจากอาหาร ซึ่งด้วยวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป ส่งผลให้มีพฤติกรรมการรับประทานที่เน้นเร็ว ง่าย และสะดวก เช่น รับประทานอาหารที่ไม่ได้ปรุงสุกใหม่, อาหารแช่แข็ง, หรืออาหารที่แปรรูปมาแล้ว เช่น เนื้อแดงและไส้กรอก รวมถึงความเสี่ยงทางด้านพันธุกรรมด้วย

  • โดยการคัดกรองคือ การส่องกล้องลำไส้ใหญ่

มะเร็งปอด พบได้บ่อยในผู้ชาย 15.5% และผู้หญิง 6.5%

ปัจจุบันมะเร็งปอดเป็นโรคมะเร็งที่พบมากในประเทศไทย โดยพบในเพศชายเป็นอันดับ 2 และในเพศหญิงเป็นอันดับ 4 จากการสำรวจพบว่าผู้ป่วยมะเร็งปอดมากกว่า 85% เกิดจากการสูบบุหรี่ และอีก 30% มาจากผู้ใกล้ชิดผู้สูบบุหรี่ แต่ก็ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่ส่งผลให้เกิดเป็นมะเร็งชนิดนี้ เช่น มลพิษทางอากาศ

  • โดยการคัดกรองคือ เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ปอดรังสีปริมาณต่ำ

มะเร็งตับ พบได้บ่อยในผู้หญิง 15%

เป็นโรคมะเร็งที่พบได้มากที่สุดเป็นอันดับ 1 ของโรคมะเร็งที่เกิดในผู้ชายไทย มักพบในคนอายุ 30-70 ปี และพบได้ในผู้ชายมากกว่าผู้หญิงประมาณ 3 เท่า เป็นมะเร็งที่มีการเจริญเติบโตของโรคอย่างรวดเร็ว และมักเสียชีวิตภายในระยะเวลาไม่เกิน 3 – 6 เดือน หากตรวจพบในระยะสุดท้าย

  • โดยการคัดกรองคือการทำ อัลตราซาวนด์ท้องช่วงบน และการตรวจค่ามะเร็งตับ (AFP) สำหรับผู้ที่มีความเสี่ยง

มะเร็งเต้านม พบได้บ่อยในผู้หญิง 37.5%

เป็นมะเร็งที่พบได้บ่อยเป็นอันดับที่ 1 ของโรคมะเร็งที่พบได้ในผู้หญิง โดยประมาณ 90% ของมะเร็งเต้านมเกิดจากต่อมน้ำนมและท่อน้ำนม ส่วนมากจึงจะพบในหญิงที่มีอายุมากกว่า 40 ปี แต่ไม่ใช่ผู้หญิงเท่านั้นที่มีโอกาสเป็น เพราะผู้ชายเองก็เป็นได้แต่โอกาสน้อยกว่า

  • โดยการคัดกรองคือการทำ แมมโมแกรม (mammogram)

มะเร็งปากมดลูก พบได้บ่อยในผู้หญิง 14.4%

อีกหนึ่งโรคที่สตรีต้องตระหนักถึง “มะเร็งปากมดลูก” สำหรับในประเทศไทย มะเร็งปากมดลูกพบมากเป็นอันดับ 2 รองจากมะเร็งเต้านม มีผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกรายใหม่ราว 10,000 ราย/ปี และผู้เสียชีวิตจากโรค 52% หรือวันละ 14 ราย ! โดยสาเหตุของมะเร็งปากมดลูก 99% มาจากการติดเชื้อไวรัส HPV ชนิดก่อมะเร็ง หรือ ชนิดความเสี่ยงสูง ซึ่งการติดเชื้อ HPV ส่วนใหญ่มาจากการมีเพศสัมพันธ์ ฉะนั้น #ผู้หญิง ทุกคนที่มีเพศสัมพันธ์จึงมีโอกาสเป็นมะเร็งปากมดลูกได้

  • โดยการคัดกรองคือ การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก และตรวจหาเชื้อ HPV

มะเร็งรังไข่ พบได้บ่อยในผู้หญิง 4.5%

เพิ่มขึ้นประมาณ 5,000 – 6,000 รายทุกปี และถือว่าเป็นมหันตภัยร้ายที่คร่าชีวิตผู้ป่วยเป็นอันดับต้น ๆ ในบรรดาโรคมะเร็งที่เกี่ยวกับอวัยวะสืบพันธุ์ผู้หญิง มะเร็งรังไข่สามารถพบได้ทุกช่วงอายุ แต่จะพบมากผู้หญิงช่วงอายุมากกว่า 50 ปี หรือช่วงวัยหมดประจำเดือน

  • โดยการคัดกรอง คือ การตรวจอัลตราซาวนด์อุ้งเชิงกราน

ทั้งนี้ การรักษาโรคมะเร็ง ขึ้นอยู่กับระยะของโรคและความเหมาะสมของคนไข้ มีตั้งแต่ การผ่าตัด ยาเคมีบำบัด การฉายรังสี การใช้ยาที่ไม่ใช่ยาเคมีบำบัด (biologic treatment) ยามุ่งเป้า (Targeted therapy) ยาภูมิคุ้มกันบำบัด(Immunotherapy) ดังนั้นหากพบอาการไม่มั่นใจ หรืออาการสงสัยให้พบแพทย์เฉพาะทางจะดีที่สุด

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม

ศูนย์มะเร็ง โรงพยาบาลเวชธานี

โทร. 02-734-0000 ต่อ 2720 , 2721

Related Posts

ตุลาคม 11, 2024

“มะเร็งกล้ามเนื้อหัวใจ” ภัยเงียบในหัวใจที่อาจเกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัว

โรคมะเร็งเป็นภัยคุกคามทางสุขภาพที่หลายคนทราบกันดี แต่สำหรับโรคมะเร็งกล้ามเนื้อหัวใจนั้น เป็นโรคที่พบได้ยากและมีข้อมูลน้อยมาก

ธันวาคม 19, 2023

TACE เคมีบำบัดทางหลอดเลือด ทางเลือกในการรักษามะเร็งตับตรงจุด

โรคมะเร็งตับ เป็นโรคมะเร็งที่พบมากที่สุดในประเทศไทย ผู้ป่วยมะเร็งตับมักจะมาพบแพทย์เมื่อมีอาการมากแล้วหรือเป็นระยะท้ายของโรค ขนาดของก้อนมะเร็งเมื่อตรวจพบมักโตเกินกว่าจะผ่าตัดได้

พฤษภาคม 18, 2023

เป็น ”นิ่วในถุงน้ำดี” แต่ไม่รีบรักษา มีความเสี่ยงเป็น “มะเร็ง” มากกว่าคนทั่วไป

อาการปวดท้องบริเวณด้านขวาบน มักเป็นอาการเสี่ยงของโรคนิ่วในถุงน้ำดี ซึ่งหลายคนเมื่อตรวจเจอแล้ว อาจยังไม่รีบรักษาเพราะคิดว่าอาการปวดที่เป็นยังไม่รุนแรง แต่การเก็บนิ่วในถุงน้ำดีไว้กับตัว นอกจากอาจจะเกิดถุงน้ำดีอักเสบหรือท่อน้ำดีอักเสบในอนาคตแล้ว คนที่มีนิ่วในถุงน้ำดีที่ขนาดใหญ่ยังมีความเสี่ยงเป็น “โรคมะเร็งถุงน้ำดี” มากกว่าคนทั่วไป ซึ่งถึงแม้จะเป็นโรคที่พบได้น้อยมาก แต่มีอัตราการการรอดชีวิตต่ำ เนื่องจากในระยะแรกมักไม่แสดงอาการ แต่เมื่อตรวจพบมักจะเข้าสู่ระยะ 3 และ 4 ซึ่งมีการลุกลามไปยังอวัยวะอื่นแล้ว

ที่ตั้งและการเดินทาง​ ที่ตั้งและการเดินทาง​

 

วิธีการเดินทาง

ค้นหาเราบนแผนที่
 

การติดต่อและนัดหมาย​

[email protected]
 

บริการฉุกเฉิน​

เบอร์โทรติดต่อ : 02-734-0000