“มะเร็งกล้ามเนื้อหัวใจ” ภัยเงียบในหัวใจที่อาจเกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัว

โรคมะเร็งเป็นภัยคุกคามทางสุขภาพที่หลายคนทราบกันดี แต่สำหรับโรคมะเร็งกล้ามเนื้อหัวใจนั้น เป็นโรคที่พบได้ยากและมีข้อมูลน้อยมากเมื่อเทียบกับมะเร็งชนิดอื่น ๆ ทำให้หลายคนอาจจะคาดไม่ถึงว่าจะเกิดมะเร็งที่บริเวณนี้ได้ อย่างไรก็ตาม โรคนี้อาจเป็นอันตรายร้ายแรงต่อการทำงานของหัวใจ หากไม่ได้รับการวินิจฉัยและรักษาอย่างทันท่วงที

นายแพทย์อภิชาติ จันทรัตน์ อายุรแพทย์ชำนาญการด้านมะเร็งวิทยา โรงพยาบาลเวชธานี อธิบายว่า โรคมะเร็งหัวใจ (Primary Malignant Cardiac Tumors) เป็นโรคที่พบน้อย โดยอาจเกิดขึ้นบริเวณกล้ามเนื้อหัวใจ หรือลิ้นหัวใจก็ได้ โดยจากข้อมูลในอดีตพบว่ามะเร็งหัวใจมีความชุกอยู่ที่ 0.001% ถึง 0.28% โดยส่วนใหญ่แล้วมักพบเป็นมะเร็งชนิดเนื้อเยื่อเกี่ยวพันหรือที่เรียกว่าซาร์โคมา (Sarcoma) โดยสาเหตุของการเกิดโรคนี้ยังไม่ทราบแน่ชัด

อาการที่เกิดขึ้นจากมะเร็งโรคใจ มักเป็นจากการอุดกั้นทางเดินของหัวใจ การหลุดกระจายของมะเร็งไปยังอวัยวะอื่นๆ โดยอาการที่เกิดขึ้นได้ เช่น

  • หอบเหนื่อย หายใจลำบาก
  • แน่นหน้าอก นอนราบไม่ได้
  • การเต้นของหัวใจผิดปกติ (เช่น หัวใจเต้นเร็วหรือเต้นช้า)
  • แขนขาอ่อนแรง (จากการอุดตันของเส้นเลือดสมอง)

สำหรับการตรวจวินิจฉัยมะเร็งกล้ามเนื้อหัวใจทำได้โดยการซักประวัติ ตรวจร่างกาย โดยการตรวจที่สำคัญคือ การตรวจเอคโคหัวใจ(Echocardiogram)รวมถึงการตรวจโดยใช้เทคโนโลยีขั้นสูง เช่น การตรวจภาพหัวใจด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan)  เอ็มอาร์ไอ (MRI) การตรวจภาพและหลอดเลือดหัวใจด้วยการฉีดสีเข้าหลอดเลือดแดง (Cardiac angiography) และการตัดชิ้นเนื้อจากก้อนเนื้อเพื่อการตรวจทางพยาธิวิทยา

การรักษาที่สำคัญคือการผ่าตัด โดยขั้นตอนและวิธีการจะขึ้นอยู่กับตำแหน่งของมะเร็งหัวใจ นอกจากนั้นการรักษาอื่นๆ ซึ่งได้แก่ การให้ยาเคมีบำบัด การฉายแสง จะขึ้นกับระยะของโรค และชนิดของมะเร็ง

จะเห็นได้ว่าโรคมะเร็งหัวใจเป็นโรคที่พบได้ยากและมีผลกระทบต่อการทำงานของหัวใจอย่างรุนแรง การตรวจสุขภาพเป็นประจำ และการตระหนักรู้ถึงความผิดปกติของร่างกายจึงเป็นสิ่งที่จำเป็น ซึ่งจะช่วยลดความรุนแรงของโรคลงได้

Related Posts

ธันวาคม 19, 2023

TACE เคมีบำบัดทางหลอดเลือด ทางเลือกในการรักษามะเร็งตับตรงจุด

โรคมะเร็งตับ เป็นโรคมะเร็งที่พบมากที่สุดในประเทศไทย ผู้ป่วยมะเร็งตับมักจะมาพบแพทย์เมื่อมีอาการมากแล้วหรือเป็นระยะท้ายของโรค ขนาดของก้อนมะเร็งเมื่อตรวจพบมักโตเกินกว่าจะผ่าตัดได้

พฤษภาคม 18, 2023

เป็น ”นิ่วในถุงน้ำดี” แต่ไม่รีบรักษา มีความเสี่ยงเป็น “มะเร็ง” มากกว่าคนทั่วไป

อาการปวดท้องบริเวณด้านขวาบน มักเป็นอาการเสี่ยงของโรคนิ่วในถุงน้ำดี ซึ่งหลายคนเมื่อตรวจเจอแล้ว อาจยังไม่รีบรักษาเพราะคิดว่าอาการปวดที่เป็นยังไม่รุนแรง แต่การเก็บนิ่วในถุงน้ำดีไว้กับตัว นอกจากอาจจะเกิดถุงน้ำดีอักเสบหรือท่อน้ำดีอักเสบในอนาคตแล้ว คนที่มีนิ่วในถุงน้ำดีที่ขนาดใหญ่ยังมีความเสี่ยงเป็น “โรคมะเร็งถุงน้ำดี” มากกว่าคนทั่วไป ซึ่งถึงแม้จะเป็นโรคที่พบได้น้อยมาก แต่มีอัตราการการรอดชีวิตต่ำ เนื่องจากในระยะแรกมักไม่แสดงอาการ แต่เมื่อตรวจพบมักจะเข้าสู่ระยะ 3 และ 4 ซึ่งมีการลุกลามไปยังอวัยวะอื่นแล้ว

มีนาคม 22, 2023

มะเร็งระยะแพร่กระจายในช่องท้อง รักษาได้ด้วย CRS ร่วมกับ HIPEC ประสิทธิภาพสูง เพิ่มอัตราการรอดชีวิต

“มะเร็งระยะแพร่กระจาย” เป็นคำที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้นกับตัวเองหรือคนรอบตัว เพราะอาจคิดว่าหมดหนทางในการรักษาแล้ว แต่ในปัจจุบันหากมะเร็งระยะแพร่กระจายไปสู่ช่องท้อง

ที่ตั้งและการเดินทาง​ ที่ตั้งและการเดินทาง​

 

วิธีการเดินทาง

ค้นหาเราบนแผนที่
 

การติดต่อและนัดหมาย​

[email protected]
 

บริการฉุกเฉิน​

เบอร์โทรติดต่อ : 02-734-0000