น้ำหนักของร่างกาย

น้ำหนักของร่างกาย

การควบคุมน้ำหนักของร่างกายช่วยลดความเสี่ยงเป็นมะเร็ง

ความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งมีหลายปัจจัย การมีน้ำหนักร่างกายมากเกินไปหรือเป็นโรคอ้วน เป็นหนึ่งในปัจจัยนั้น เนื่องจากเมื่อร่างกายมีไขมันส่วนเกินสะสม จะนำไปสู่อาการอักเสบเรื้อรัง และเพิ่มระดับฮอร์โมนบางตัวในร่างกายที่กระตุ้นการเจริญเติบโตของมะเร็ง เช่น อินซูลิน ไอจีเอฟ-วัน และเอสโตรเจน ขณะที่ฮอร์โมนบางตัวที่เซลล์ไขมันผลิตในระหว่างกระบวนการเผาผลาญนั้น อาจขัดขวางการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันและความสามารถในการสู้กับมะเร็ง

90% ของผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่ทั้งเพศชายและเพศหญิง พบว่ามีอายุมากกว่า 50 ปีและเป็นโรคอ้วน จากข้อมูลสถิติผู้ป่วยมะเร็งพบว่าการมีน้ำหนักมากในวัยผู้ใหญ่ อาจมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งตับอ่อน มะเร็งตับ มะเร็งลำไส้ใหญ่ และมะเร็งไตได้ นอกจากนีัยังพบว่ามากกว่า 50 % ของผู้ป่วยมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก มักมีน้ำหนักตัวที่มากเกินไป และหากมีไขมันบริเวณรอบเอวมาก ก็อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านมและและมะเร็งปากมดลูก นอกจากนี้ผู้หญิงที่มีน้ำหนักมากตั้งแต่ช่วงวัยรุ่น มีความเสี่ยงเป็นมะเร็งรังไข่ก่อนเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนมากกว่าผู้หญิงที่เริ่มเข้าสู่ภาวะอ้วนในวัยผู้ใหญ่

การป้องกันการเกิดโรคมะเร็งที่สัมพันธ์กับโรคอ้วน แพทย์จะแนะนำให้ตรวจวัดดัชนีมวลกาย (BMI) ซึ่งเป็นเกณฑ์วัดน้ำหนักร่างกายที่แพร่หลาย โดยช่วงเกณฑ์ที่ปกติคือระหว่าง 18.5 – 24.9 ผู้ที่มีค่าเฉลี่ย BMI เกิน 25 ขึ้นไปจะถือว่ามีภาวะน้ำหนักเกินและมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งได้ แต่หากมีการลดน้ำหนักเพียง 5 – 10 % ของน้ำหนักตัว ก็จะช่วยลดความเสี่ยงต่อเกิดโรคมะเร็งได้เช่นกัน

อย่างไรก็ดี หากรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพและออกกำลังกายแล้ว แต่การลดน้ำหนักก็ยังไม่ได้ผล แพทย์อาจพิจารณาสั่งยาให้รับประทานหรือยาฉีดเพื่อช่วยในการลดน้ำหนัก และสำหรับคนทั่วไปที่มีค่าดัชนีมวลกายอย่างน้อย 40 และผู้ที่มีโรคที่รุนแรงและมีค่าดัชนีมวลกายอย่างน้อย 35 แพทย์อาจแนะนำให้ส่องกล้องใส่บอลลูนร่วมกับฉีดยา หรือเข้ารับการผ่าตัดลดขนาดกระเพาะ เพื่อให้ช่องว่างในกระเพาะอาหารมีขนาดเล็กลง และช่วยให้การลดน้ำหนักทำได้เร็วขึ้น

ที่ตั้งและการเดินทาง​ ที่ตั้งและการเดินทาง​

 

วิธีการเดินทาง

ค้นหาเราบนแผนที่
 

การติดต่อและนัดหมาย​

[email protected]
 

บริการฉุกเฉิน​

เบอร์โทรติดต่อ : 02-734-0000