ตรวจคัดกรอง มะเร็งปากมดลูก สำคัญแค่ไหน

มะเร็งปากมดลูก เป็นอีกหนึ่งมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับ 2 รองจากมะเร็งเต้านม และถือว่าเป็นภัยเงียบที่คุกคามสุขภาพผู้หญิง โดยพบว่าในประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตจากมะเร็งปากมดลูกเฉลี่ยวันละ 14 คน เพราะฉะนั้นการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก เป็นเรื่องสำคัญมากที่จะช่วยหาความผิดปกติได้ตั้งแต่เริ่มแรก เพื่อหาทางป้องกันและดูแลรักษาที่เหมาะสม

พญ.ชลิดา เรารุ่งโรจน์ สูตินรีแพทย์เฉพาะทางด้านมะเร็งนรีเวชวิทยา โรงพยาบาลเวชธานี อธิบายว่า มะเร็งปากมดลูก เกิดจากการติดเชื้อไวรัส HPV สายพันธุ์เสี่ยงสูง โดยสายพันธุ์ที่พบได้บ่อยที่สุดได้แก่ สายพันธุ์ 16 และ 18 ซึ่งการติดเชื้อไวรัส HPV เกือบทั้งหมดมาจากการมีเพศสัมพันธ์ ฉะนั้นโอกาสการติดเชื้อก็มาจากพฤติกรรมเสี่ยง เช่น การมีคู่นอนหลายคน หรือการมีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุยังน้อย เป็นต้น โดยอาการในระยะเริ่มแรกของมะเร็งปากมดลูก คือ  เริ่มจากไม่มีอาการแต่มาตรวจพบได้จากการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ,มีเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด, มีเลือดออกขณะมีเพศสัมพันธ์, หรือมีตกขาวผิดปกติ  ส่วนอาการในมะเร็งระยะลุกลาม ผู้ป่วยอาจมีอาการอื่นๆร่วมด้วย เช่น ขาบวม ต่อมน้ำเหลืองโต ไตวาย ปัสสาวะหรืออุจจาระมีเลือดปน

การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกจึงเป็นทางเลือกในการป้องกันอย่างหนึ่ง ที่ผู้หญิงทุกคนควรให้ความสำคัญ โดยเฉพาะผู้หญิงที่มีเพศสัมพันธ์แล้ว ส่วนผู้หญิงที่ไม่เคยมีเพศสัมพันธ์ ควรเริ่มตรวจเมื่ออายุ 30 ปีขึ้นไป ปัจจุบันมีวิธีการตรวจ 3 วิธี ได้แก่

  1. แปปสเมียร์ (Pap Smear) คือการป้ายเซลล์จากปากมดลูกบนแผ่นกระจกสไลด์เพื่อตรวจหาเซลล์ที่ผิดปกติ
  2. Liquid Based Cytology คือการป้ายเซลล์จากปากมดลูกใส่ในของเหลวเพื่อตรวจหาเซลล์ผิดปกติ ซึ่งให้ผลตรวจที่ชัดเจนมากขึ้น
  3. HPV Testing คือการตรวจหาเชื้อไวรัสสายพันธุ์เสี่ยงสูงต่อมะเร็ง ซึ่งให้ผลตรวจที่ละเอียดมากขึ้น แต่นิยมใช้ควบคู่กับวิธี Liquid Based Cytology

 “ มะเร็งปากมดลูก เป็นมะเร็งในไม่กี่ชนิดที่สามารถป้องกันได้ โดยการป้องกันที่ดีที่สุด คือการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก เพื่อตรวจพบได้ตั้งแต่ระยะก่อนที่จะเป็นมะเร็ง โดยแนะนำให้ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกปีละครั้งในการตรวจโดยวิธี Pap smear และ Liquid base cytology และแนะนำให้ตรวจทุก 3 ปีถ้าใช้วิธีการตรวจหาเชื้อ HPV ส่วนการตรวจภายในเพื่อหาโรคทางนรีเวช ยังแนะนำให้ตรวจทุกปีเหมือนเดิม ” พญ.ชลิดากล่าว

นอกจากนี้ การเข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกก็เป็นอีกทางเลือกในการป้องกันมะเร็ง โดยสามารถฉีดได้ตั้งแต่เด็กอายุ 9 ปีขึ้นไป ถ้ามีอายุระหว่าง 9 – 15 ปี แพทย์จะแนะนำให้ฉีด 2 เข็ม ถ้าอายุมากกว่า 15 ปี จนถึง 45 ปี แพทย์จะแนะนำให้ฉีด 3 เข็ม ซึ่งการใช้ปริมาณการฉีดที่แตกต่างกันนั้น เนื่องจากวัคซีนจะกระตุ้นภูมิคุ้มกันในเด็กได้ดีกว่าผู้ใหญ่ เพราะฉะนั้นการที่พ่อแม่พาบุตรหลานมารับวัคซีนตั้งแต่เด็ก การฉีด 2 เข็มจะเพียงพอเท่ากับการฉีด 3 เข็มในเด็กโต หรือผู้ใหญ่ และวัคซีนจะมีประสิทธิภาพมากที่สุดหากฉีดในคนที่ยังไม่เคยมีเพศสัมพันธ์ แต่ในคนที่เคยมีเพศสัมพันธ์แล้วก็ยังสามารถฉีดวัคซีนได้เช่นกัน 

อย่างไรก็ตาม แนวทางการป้องกัน รวมถึงวิธีการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ควรให้แพทย์เป็นผู้ให้คำแนะนำวิธีที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคล

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม

ศูนย์สุขภาพสตรี โรงพยาบาลเวชธานี
โทร 02-734-0000 ต่อ 3200

Related Posts

มกราคม 16, 2023

เยื่อพรหมจรรย์ขาด หรือ มะเร็งปากมดลูก

ปัญหาหนึ่งที่อาจเกิดขึ้นได้กับคุณผู้หญิง คือการมีเลือดออกหลังจากมีเพศสัมพันธ์ แม้ว่าช่วงนั้นจะไม่ได้เป็นช่วงที่มีประจำเดือนก็ตาม

ตุลาคม 11, 2024

“มะเร็งกล้ามเนื้อหัวใจ” ภัยเงียบในหัวใจที่อาจเกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัว

โรคมะเร็งเป็นภัยคุกคามทางสุขภาพที่หลายคนทราบกันดี แต่สำหรับโรคมะเร็งกล้ามเนื้อหัวใจนั้น เป็นโรคที่พบได้ยากและมีข้อมูลน้อยมาก

ธันวาคม 19, 2023

TACE เคมีบำบัดทางหลอดเลือด ทางเลือกในการรักษามะเร็งตับตรงจุด

โรคมะเร็งตับ เป็นโรคมะเร็งที่พบมากที่สุดในประเทศไทย ผู้ป่วยมะเร็งตับมักจะมาพบแพทย์เมื่อมีอาการมากแล้วหรือเป็นระยะท้ายของโรค ขนาดของก้อนมะเร็งเมื่อตรวจพบมักโตเกินกว่าจะผ่าตัดได้

ที่ตั้งและการเดินทาง​ ที่ตั้งและการเดินทาง​

 

วิธีการเดินทาง

ค้นหาเราบนแผนที่
 

การติดต่อและนัดหมาย​

[email protected]
 

บริการฉุกเฉิน​

เบอร์โทรติดต่อ : 02-734-0000